DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1803

Title: งานออกแบบงานสร้างให้ดูสมจริงต่อผู้ชมในภาพยนตร์ไทยเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี
Other Titles: The Production Design in Factual Description of Reality in Thai Film “The Legend of King Naresuan Episode 5 Elephant Duel”
Authors: รุจน์ ขาวมาลา
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) งานออกแบบงานสร้างให้ดูสมจริงต่อผู้ชมในภาพยนตร์ไทยเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี 2) งานออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ชมในการรับชมภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้ 3) การบริหารงานภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้ โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลหลัก (Key Information) ได้แก่ ผู้กำกับ ผู้ออกแบบงานสร้าง ฝ่ายการตลาด นอกจากนี้ยังแจกแบบสอบถาม 400 ชุดแก้ผู้ชมภาพยนตร์ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนตร์ (Textual Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) งานออกแบบงานสร้างให้ดูสมจริงในภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วย การออกแบบฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ การแต่งหน้า และทรงผม ได้ข้อมูลจากประวัติศาสตร์ 50% และจากความคิดสร้างสรรค์ 50% 2) การบริหารจัดสรรงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆในการสร้างภาพยนตร์ฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 1) วิธีการบริหารงบประมาณ ในช่วงก่อนการผลิต (Pre-Production) 2) วิธีการบริหารงบประมาณ ในช่วงการผลิต (Production) และ 3) วิธีการบริหารงบประมาณในช่วงหลังการผลิต (Post Production) ซึ่งการบริหารจัดสรรงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการสร้างภาพยนตร์ฯ นี้ เป็นปัญหาและอุปสรรคหลัก เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ประเภทของการสร้างอิงประวัติศาสตร์ที่มีการใช้เงินทุนในการสร้างจำนวนมาก อีกทั้งความตั้งใจเดิมของผู้กำกับนั้นกำหนดไว้ว่าให้มีเพียง 3 ภาคเท่านั้น แต่ต่อมาผู้สร้างได้เปลี่ยนความตั้งใจ จึงเพิ่มเติมภาค 5 เข้ามาเพิ่มเติม จึงประสบกับปัญหาการต้องระดมหาเงินทุนเพิ่มขึ้น 3) การบริหารงานภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้ ที่มาของแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากเงินสนับสนุนของภาครัฐ ทุนจากนิติบุคคล และของผู้กำกับ โดยรวมทุนสร้าง 450 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะมาเงินสนับสนุนของภาครัฐ นอกจากนั้นจะเป็นทุนของผู้กำกับ เพื่อสร้างภาพยนตร์ให้ดูออกมาสมจริงใกล้เคียงกับยุคสมัยของสังคมในสมัยนั้นมากที่สุด ซึ่งงบประมาณใช้ในการออกแบบฉาก และอุปกรณ์ประกอบฉากมากที่สุด
The objectives of this research were 1) to study the production design in factual description of reality in the Thai film titled “The Legend of King Naresuan Episode 5 Elephant duel,” 2) to examine the production design of the film affecting the audiences’ decision in viewing the movie, and 3) to examine the film administration of the “The Legend of King Naresuan Episode 5 Elephant duel.” The research was qualitative and quantitative. The methods were textual analysis of the film, and in-depth interviews of key informants such as director, designers and marketing section. Besides, the researcher distributed 400 questionnaires to viewers of the movie. The results showed that 1) the design of the film in factual description of reality were scene design, props, costume and accessories, and hairstyle and make-up. The information for design derived from history 50 percent and from the imagination another 50 percent, 2) scene design was the most significance among audiences in watching this historical movie, 3) the budget mostly came from the government support and personal budget. 70 per cent was for the scene design, equipment shooting, wages, and 30 per cent was for wages for the assistant team in design and costume section. The target audience was all Thai audiences, focusing on teens. The media used in promoting were advertising on television and social media.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ธรรญธร ปัญญโสภณ
ภัทรภร สังขปรีชา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1803
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ruj.khao.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback