DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1764

Title: การศึกษาคุณค่าตราสินค้าและความชื่นชอบในตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสมาร์ทวอท์ช ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Smart watch brand equity and brand preference influence to purchase intention in Bangkok
Authors: ชาญวิทย์ เชียงทอง
Keywords: คุณค่าตราสินค้า
ความชื่นชอบในตราสินค้า
ความตั้งใจซื้อ
สมาร์ทวอท์ช
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) และความชื่นชอบในตราสินค้า (Brand Preference) จากสินค้าสมาร์ทวอท์ช (Smart Watch) ต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.961 และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นคือสถิติที่ใช้สำหรับข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้สำหรับข้อมูลเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Coefficient) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ความคิดเห็นต่อคุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) สมาร์ทวอท์ช (Smart Watch) อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการรับรู้ในคุณภาพ (Perceived Quality) รองลงมาคือการรู้จักตราสินค้า (Brand Awareness) ความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) และลำดับสุดท้ายคือความคุ้มค่าของตราสินค้า (Brand Association) ตามลำดับ ส่วนความชื่นชอบในตราสินค้า (Brand Preference) ของสมาร์ทวอท์ช (Smart Watch) พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความชื่นชอบอยู่ในระดับมาก โดยชื่นชอบตราสินค้าสมาร์ทวอท์ช (Smart Watch) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพราะเป็นสินค้าที่มีการตั้งราคาผลิตภัณฑ์อย่างยุติธรรมและความตั้งใจซื้อสมาร์ทวอท์ช (Smart Watch) พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้ออยู่ในระดับมาก โดยตั้งใจซื้อสมาร์ทวอท์ชเพื่อใช้ดูเวลาและเพื่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าคุณค่าตราสินค้าและความชื่นชอบในตราสินค้ามีผลต่อความตั้งใจซื้อสมาร์ทวอท์ช (Smart Watch) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research based on Quantitative Research which purpose study on the effect of brand equity, and brand preference on Smart watches against consumer buying intension within Bangkok metropolitan area. The study’s examples gathered from consumers within Bangkok metropolitan area, on 400 males and females, by using purposive sampling technic. The tools for this research are reliable survey equal to 0.961 in reliability and measured its content validity by experts. The statistic used to analyze the basic information is “descriptive statistic”. For example, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistic. For hypothesis testing used multiple regression analysis by multiple regression coefficient. The result of this study stated that majority highly remarked on smart watch’s brand equity. The highest average is on perceived quality, brand awareness, brand loyalties were next in mind, and brand association was last in. For Smart watch’s brand preference founded that the represented samples were highly appreciated. They likes the smart watch that they currently using because the products were fairly price tagged and the willingness to purchase a smart watch founded that there were also high. They intended to purchase smart watch mainly for timing and also for connecting conveniently to other communication devices. Hypothesis testing result founded that brand equity and brand preference has an effect on smart watch purchasing intension. Significance different in statistic was at 0.05 level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): สุคนธ์ทิพย์ รัตนภูพันธ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1764
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chanwit_chia.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback