DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1690

Title: ปัญหาการให้ความคุ้มครองผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพ: ศึกษากรณีการละเมิดสิทธิแพร่เสียงแพร่ภาพแต่เพียงผู้เดียวข้ามประเทศ
Other Titles: Problems in the copyright protection of broadcasting organizations: A case study on the violation of copyright law through international broadcasting
Authors: สิปปวัฒน์ กัมทรทิพย์
Keywords: ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพ
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
สิทธิข้างเคียง
สิทธิแต่เพียงผู้เดียว
การแพร่เสียงแพร่ภาพ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในปัจจุบันผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพคือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำงานแพร่เสียงแพร่ภาพออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งงานแพร่เสียงแพร่ภาพที่ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพเผยแพร่นั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองโดยถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งได้ในตัวของมันเอง แต่ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพจะมีลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือ ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพอาจจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพที่ตนเองเผยแพร่ หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพที่ตนเองเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศก็ได้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และมีผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพบางประเภทที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เช่น ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพประเภทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพที่ตนเองเผยแพร่ ซึ่งเป็นการคุ้มครองในตัวงานแพร่เสียงแพร่ภาพเพียงแต่ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพซึ่งเป็นเจ้าของจึงได้รับผลประโยชน์ในการคุ้มครองงานแพร่เสียงแพร่ภาพนี้ไป แต่ยังมีผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพบางประเภท เช่น ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพประเภทที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพที่ตนเองเผยแพร่ แต่เป็นแค่เพียงผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพที่ตนเองเผยแพร่ให้นำงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวมาทำการแพร่เสียงแพร่ภาพเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน จากการศึกษาพบว่า การคุ้มครองผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพประเภทที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพในประเทศไทย ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยเป็นเพียงการคุ้มครองโดยต้องมีเงื่อนไขก่อนคือก่อนที่ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพจะแพร่เสียงแพร่ภาพต่อไปยังสาธารณชน หรือแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ หรือจัดให้ประชาชนเข้ารับฟังหรือรับชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ จะต้องได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพก่อน แล้วจึงไปพิจารณาประเภทของสัญญาที่อนุญาตให้ใช้สิทธิหรือเนื้อหาของสัญญาที่อนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้น มิได้ขยายให้ความคุ้มครองในฐานะสิทธิข้างเคียงคือเป็นผู้นำงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวออกเผยแพร่สู่สาธารณชนเหมือนกับกรณีสิทธิข้างเคียงของนักแสดงอย่างเป็นเอกเทศหรือโดยอัตโนมัติทันทีที่มีการกระทำละเมิดเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยยังให้ความคุ้มครองผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพประเภทที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพอย่างคลุมเครือและไม่ชัดแจ้ง จึงทำให้เกิดปัญหาว่า ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพจากต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพให้แพร่เสียงแพร่ภาพเฉพาะภายในประเทศของตนเอง ทำการส่งสัญญาณงานแพร่เสียงแพร่ภาพประเภทที่มีเนื้อหารายการอย่างเดียวกัน เข้ามาแย่งผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือพาณิชย์ ภายในบริเวณดินแดนอาณาเขตของประเทศไทยโดยที่ไม่ได้ใช้หรือลักลอบสัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพของผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพของประเทศไทยที่เป็นผู้ที่เสนอราคาประมูลสูงสุดให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพเพื่อให้ได้เป็นผู้มีสิทธิแพร่เสียงแพร่ภาพแต่เพียงผู้เดียวในเนื้อหารายการของงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวภายในบริเวณดินแดนอาณาเขตของประเทศไทย ผู้เขียนจึงเห็นว่า หากกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยมีการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมให้ความคุ้มครองผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพประเภทที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพอย่างชัดแจ้งและเป็นเอกเทศของตนเองในฐานะสิทธิข้างเคียงและเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือสิทธิเด็ดขาดในการแพร่เสียงแพร่ภาพภายในบริเวณดินแดนอาณาเขตของประเทศไทย โดยคำนึงถึงสิทธิในการลงทุนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่กฎหมายจะต้องเข้าไปคุ้มครอง ดูแล และช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิแพร่เสียงแพร่ภาพแต่เพียงผู้เดียวข้ามประเทศประกอบกับจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนในกิจการแพร่เสียงแพร่ภาพ ส่วนตัวเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพที่อยู่ในต่างประเทศนั้นก็จะได้รับประโยชน์มากเนื่องจากเป็นการที่ผู้ดำเนินการแพร่เสียงแพร่ภาพของต่างประเทศนั้นได้ใช้สัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพของตนเองเกินไปกว่าขอบเขตที่ตกลงกันไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้งานแพร่เสียงแพร่ภาพด้วย
In present, broadcaster is an organization which is responsible to publicise broadcasting works that are protected by the copyright law of Thailand. Moreover, broadcasters can be an owner of copyright in their own broadcasting works, or they can only be an organization which are permitted from an actual owner of copyright to broadcast in either domestic or international countries. In Thailand, COPYRIGHT ACT B.E. 2537 (1994) was created in order to protect the copyright violation for some types of broadcasters such as broadcasters who are an owner of copyright in their own broadcasting works. It can be indicated that the copyright protection can be useful for only broadcasters who are an owner of copyright in their own broadcasting works. However, there are some types of broadcasters such as broadcasters who are not the owner of broadcasting works, they are only permitted from the actual owner of copyright to publicise those broadcasting works. From the research, broadcasters who are not the owner of copyright in Thailand are protected by the copyrights with condition. This indicates that broadcasters have to be rightfully permitted to have a copyright from the owner in broadcasting work before broadcast it to public. Then the types or contents of permission are considered after. It does not individually cover the protection of related rights of the actors, or automatically applies when the copyright violation is occured. Therefore, there is ambiguity in Thai law of broadcaster protection in case of broadcasters who are not the owner of copyright in broadcasting work. This can cause the problem that broadcasters who are permitted to publicise in only their domestic areas can send the signal of the same content in broadcasting work for commercial benefit in Thailand. International broadcasters smuggle the broadcasting signal from Thai broadcasters who make a high bid to the owner of copyright in broadcasting works for being the only one who have right to publicise the content of broadcasting works in Thailand. In my point of view, I think Thai copyright law should be revised, improved and based on the right of investment to protect broadcasters who are obviously not the owner of copyright in broadcasting works to have their own related rights and to be the only one who can publicise broadcasting works in Thailand. There is an important in economical aspect that the regulation should protect international broadcasting infringement and it will be useful for investment on broadcasting business. Also, there can be beneficial for an owner of copyright in broadcasting works because broadcasters cannot send signal exceed from the permission of broadcasting contact.
Description: การคนควาอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): อัมภารัชฏ์ วิเศษสมิต
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1690
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sippawat_kamt.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback