DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1656

Title: สัมพันธบทของตัวละครนางเอกในสื่อละครโทรทัศน์ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง แรงเงา
Other Titles: Intertextuality of the main actress in Thai TV drama: Case study of Reang Ngao
Authors: ลินิน แสงพัฒนะ
Keywords: สัมพันธบท
นางเอก
ละครโทรทัศน์ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่อง สัมพันธบทของตัวละครนางเอกในสื่อละครโทรทัศน์ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่องแรงเงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัมพันธบทของตัวละครนางเอกในสื่อละครโทรทัศน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการเลือกละครโทรทัศน์จำนวน 1 เรื่อง เป็นกรณีศึกษา คือละครโทรทัศน์เรื่องแรงเงาที่ผลิตโดยบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2555 โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหาของละครโทรทัศน์เรื่องแรงเงา ตามองค์ประกอบการเล่าเรื่อง 6 ประการ ได้แก่ ตัวละคร โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ฉาก สัญลักษณ์พิเศษ และความขัดแย้ง เพื่อค้นหาสัมพันธบทของตัวละครนางเอก ซึ่งอาศัยแนวคิดสัมพันธบท แนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดสัญวิทยา แนวคิดเรื่องสตรีนิยม เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทของตัวละครนางเอกมีทั้งการคงเดิม (Convention) ความแปลกใหม่ (Invention) การขยายความ (Extension) และการดัดแปลง (Modification) โดยไม่พบลักษณะการตัดทอน (Reduction) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธบทที่พบ ได้แก่ ปัจจัยด้านธุรกิจและการตลาด ปัจจัยด้านดารานักแสดง ปัจจัยด้านสังคมและค่านิยม
The aim of the research “Intertextuality of the main actress in Thai TV drama: Case study of Reang Ngao” is to study the intertextuality of the main actress in Thai TV drama. This research is the qualitative research. The researcher used a purposive sampling to choose “Reang Ngao”, the Thai TV drama produced by Broadcast Thai Television Co., Ltd., in 2001 and 2012 as a case study. The researcher employed the textual analysis as a research tool to analyze the content of the TV drama according to the Narrative concepts factors: characters, plot, themes, setting, special symbols and conflict to find the main actress character’s intertextuality. In addition, the researcher used the following concepts: Intertextuality, Semiology, Feminism to analyze it. The result of the research has shown that the intertextuality of the main actress are conventional, new, extended and modified. The factors influencing the intertextuality are business and marketing, actress, social and value factors.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ธัญญลักษณ์ เอนกจำนงค์พร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1656
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
linin_sang.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback