DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1275

Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตรกับการแข่งขัน ที่ไม่เป็นธรรม: กรณีศึกษากฎกระทรวงฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
Other Titles: The legal problems of patent licensing agreements with the unfair competition: Case study Ministerial Regulations No. 25 (B.E. 2542) issued in Accordance with the Patent Act B.E. 2522
Authors: กรวิกาณ์ โพธิ์ทอง
Keywords: สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
สิทธิบัตร
การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สิทธิบัตร เป็นทรัพย์ทางสินปัญญาประเภททรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ซึ่งมีประโยชน์การพัฒนาอุตสาหกรรมและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก รัฐจึงให้สิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรให้การแสวงหาประโยชน์แต่เพียงผู้เดียวในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยแลกเปลี่ยนกับการที่ผู้ทรงสิทธิบัตรจะต้องเปิดเผยรายละเอียดของการประดิษฐ์หรือกรรมวิธีที่ได้รับสิทธิบัตรในระหว่างอายุการคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ทรงสิทธิบัตรอาจใช้สิทธิในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่รับสิทธิบัตรด้วยตนเอง หรืออนุญาตให้ผู้อื่นเป็นผู้ใช้สิทธิในการผลิตแทนตนก็ได้ กรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ใช้สิทธิในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรด้วยตัวเอง ผู้ทรงสิทธิบัตรอาจจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรแทนตนเอง โดยในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในสิทธิบัตรนั้น ผู้ทรงสิทธิบัตรและผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจะทำสัญญาที่เรียกว่า “สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” โดยในการทำสัญญาดังกล่าวอาจมีการทำข้อตกลงที่อาจส่งผลทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแลการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการควบคุมการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ตามสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรเพื่อป้องกันไม่ให้มีการทำข้อตกลง ที่อาจก่อให้เกิดการจำกัดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ ผู้เขียนพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่กำหนดเอาไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 นั้น มีการกำหนดข้อสัญญาที่มีลักษณะต้องห้ามเอาไว้ โดยกำหนดว่า ในกรณีที่สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร มีการกำหนดข้อตกลงในลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ให้ถือเป็นข้อสัญญาที่ก่อให้เกิดการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ซึ่งในการพิจารณาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้น จะพิจารณาจากข้อตกลงในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นหลัก โดยไม่ให้มีการกำหนดข้อสัญญาที่ลักษณะต้องห้าม ซึ่งจะไม่ได้มีการพิจารณาข้อตกลงหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ของสัญญา และจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิที่บัตรที่มีข้อสัญญาที่มีลักษณะต้องห้ามนั้น ก่อให้เกิดการจำกัดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแท้จริงแล้วยังไม่มีการพิสูจน์ว่า ข้อสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดการจำกัดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ และทำให้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงได้เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดยเสนอให้มีเพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสัญญาอนุญาต ให้ใช้ตามสิทธิบัตรจากเดิมที่มีการพิจารณาจากข้อสัญญาไม่ให้มีการกำหนดข้อสัญญาที่มีลักษณะ ต้องห้ามเพียงอย่างเดียว โดยให้เพิ่มเติมพิจารณาถึงฐานะของผู้ทรงสิทธิบัตรว่าเป็นผู้ประกอบการ ผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่ พิจารณาข้อตกลงประการอื่นในสัญญา พิจารณาถึงผลในเชิงบวกของการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และให้ยกเลิกหลักเกณฑ์บางประการ
Patent is an intellectual property in the common form of industrial property which is extremely beneficial to the development of countries. The State therefore grants the absolute rights to patent holders for finding the benefits within a limited period solely where all of those are required to disclose the detailed description of their patented inventions or methods in return. Within the specified time period of protection, the patent holders may be able to exercise their rights to manufacture the patented products by themselves or allow anyone to do so. In the case where the patent holders do not intend to exercise their rights as aforementioned, they may allow any other person to produce the patented products by granting the licenses instead. Upon this basis, the patent holders and licensees will enter into a contract, namely “Licensing Agreement”. Nevertheless, it is more likely that terms and conditions set forth therein may cause unfair competition to the society as a whole. Hence, it is necessary to enact the legal measures for controlling the execution of such patent licensing agreements. This independent study is intended to explore Thailand’s legal measures for controlling patent or petty patent licensing agreements to be refrained from the terms and conditions which may accordingly cause the unfair competition, pursuant to the Ministerial Regulations No. 25 (B.E.2542) issued in accordance with the Patent Act B.E. 2522, by making a comparison with the legal measures for making patent licensing agreements adopted in the United States of America. With regards to the result of the study and analysis, the Author has found out that the legal measures controlling the execution of the Licensing Agreement, as prescribed in the Ministerial Regulations No. 25 (B.E.2542) issued in accordance with the Patent Act B.E. 2522, also stipulate the characteristics of some contractual clauses which are prohibited to be specified in the agreements. In the case that any patent licensing agreement contains such kind of clauses, those clauses shall be deemed unfair competition and then invalid accordingly. The consideration shall be based on the terms and conditions contained in the licensing agreements. They must not have any kind of the prohibited characteristics. For other covenants and factors, they are not taken into account. As this is just an assumption without any proof whether or not they actually cause the unfair competition, the said legal measures may as a consequence cause problems about the enforcement and not be compatible with current situations. Therefore, this Research is aimed to recommend guidelines for the amendment to the Ministerial Regulation No. 25 (B.E.2542) enacted in accordance with the Patent Act B.E.2522 since other criteria for investigating the patent licensing agreements should be also taken into consideration other than the said prohibited characteristics of contract terms; for instance, to check the patent holders’ negotiation power; to review other contractual clauses; to think about positive results of making the patent licensing agreements; and to cancel some rules.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
ใจรัก เอื้อชูเกียรติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1275
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kornvika.phot.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback