DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1251
|
Title: | ทัศนคติของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีต่อโฆษณาบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ค |
Other Titles: | Attitudes of the working people towards the advertisements on Facebook |
Authors: | สิทธิณัฐ สุวรรณจินดา |
Keywords: | เฟซบุ๊ค ทัศนคติ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อโฆษณาบนเว็บไซต์เฟซบุ๊คของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คแตกต่างกัน และมีการเปิดรับโฆษณาบนเว็บไซต์เฟซบุ๊คแตกต่างกัน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มคนทำงานที่ใช้บริการเว็บไซต์เฟซบุ๊ค จำนวน 200 คน โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบสํารวจ (Survey Research) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 31 – 35 ปี มีอาชีพลูกจ้างเอกชน/ พนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 30,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด และมีประสบการณ์การใช้งานเฟซบุ๊คมากกว่า 5 ปี การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ค พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้เฟซบุ๊คโดยเฉลี่ยใน 1 สัปดาห์ 15 ครั้งขึ้นไป มีระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการเข้าใช้เฟซบุ๊คแต่ละครั้งน้อยกว่า 1 ชั่วโมง การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าชมและติดตามสื่อโฆษณาในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเข้าร่วมรับข่าวสารสินค้าที่โฆษณาทางกระดานข่าว (Fan Page) จำนวน 10 – 14 หน้า การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ใช้บริการเว็บไซต์เฟซบุ๊คที่มีต่อสื่อโฆษณาบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ค พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคตินระดับมากต่อ ปัจจัยที่ 1 ด้านความน่าสนใจ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 รองลงมาได้แก่ ปัจจัยที่ 4 ด้านการตัดสินใจซื้อ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ปัจจัยที่ 2 ด้านการเผยแพร่ข้อมูลสินค้า และปัจจัยที่ 3 ด้านความน่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ยที่เท่ากันคือ 3.93 ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์จำแนกตามเพศ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสต่างกัน และมีประสบการณ์การใช้งานเฟซบุ๊ค ความถี่ในการเข้าใช้เฟซบุ๊คโดยเฉลี่ยใน 1 สัปดาห์ ระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการเข้าใช้เฟซบุ๊ค และการเปิดรับโฆษณาบนเว็บไซต์เฟซบุ๊คต่างกันจะมีทัศนคติต่อโฆษณาเว็บไซต์เฟซบุ๊คแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The objectives of this research are 1) to study the attitudes towards the advertisements on Facebook among the working people with different demographic features; 2) to study the attitudes towards the advertisements on Facebook among the working people with different types of behavior of using Facebook; and 3) to study the attitudes towards the advertisements on Facebook among the working people with different forms of exposure to Facebook. The data were collected from 200 working people who use Facebook. The quantitative method was employed in this survey research. The findings of this study reveal that most of the sample groups are single, female, university graduates, aged between 31-35 years old, working as company employees, earning 15,001-30,000 baht per month and using Facebook for over 5 years. They access Facebook over 15 times per week on average and spend less than one hour per each access. Most of the sample groups learn 10-15 pages of information about product advertisements on Facebook or fan pages. Their attitudes are at the highest level towards the first factor or interest, which is at the average of 4.04, followed by the fourth factor or decision to buy at the average of 3.95, and finally the second factor or dissemination of product information and the third factor or credibility at the average of 3.93 respectively. The hypothesis of the study reveals that the samples have different attitudes towards the advertisements on Facebook at the significant level of 0.05, depending on their sexes, occupations, educational backgrounds and marital status, experience in using Facebook, frequencies in accessing Facebook per week, average time spent on using Facebook and exposure to advertisements on Facebook. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557 |
Advisor(s): | มัลลิกา ผลอนันต์ สุนิสา ประวิชัย |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1251 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|