DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1174

Title: ภาพสะท้อนอัตลักษณ์ส่วนบุคคลผ่านงานเขียน กรณีศึกษา คุณวิกรม กรมดิษฐ์
Other Titles: The reflections of personal identity through writings: A case study of Vikrom Kromadit
Authors: ศรัญญา กิตติวัฒนโชติ
Keywords: อัตลักษณ์
อัตลักษณ์ส่วนบุคคล
โลกาภิวัฒน์
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การทำความเข้าใจการประกอบสร้างอัตลักษณ์บุคคลในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องมีการศึกษาอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีต่อบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ ท้าทายความสามารถของบุคคลในการบริหารจัดการรวมถึงการสื่อสารตัวตนเพื่อสร้างความแตกต่างท่ามกลางความหลากหลาย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาเรื่อง ภาพสะท้อนอัตลักษณ์ส่วนบุคคลผ่านงานเขียน กรณีศึกษา คุณวิกรม กรมดิษฐ์ จากผลงานเขียนทั้งหมด 5 เล่ม ประกอบด้วย หนังสือมองโลกแบบวิกรม หนังสือผมจะเป็นคนดี เล่มไฟฝันวันเยาว์ หนังสือผมจะเป็นคนดี เล่มก่อร่างสร้างธุรกิจ หนังสือ กิน & อยู่ แบบวิกรม และหนังสือชีวิตใหม่ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยการจัดทำสาระบบ และการนำข้อมูลที่ได้มา ลงรหัสข้อมูล (Coding) พร้อมคัดแยกและจัดหมวดหมู่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่แท้จริง ผลการศึกษาวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ของคุณวิกรม กรมดิษฐ์ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างอัตลักษณ์ส่วนบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม โดยมีวิธีการสร้างและการนำเสนออัตลักษณ์อย่างเป็นกระบวนการตามขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ทั้งก่อนและหลังกระแสโลกาภิวัตน์ ขั้นที่ 2 การเลียนแบบผสมผสานภายใต้บริบทเรื่องการสร้างแบรนด์ผู้นำองค์กรธุรกิจผ่านองค์กรอมตะ และผ่านมูลนิธิอมตะ ส่วนขั้นที่ 3 การนำเสนออัตลักษณ์ที่ลื่นไหลเปลี่ยนแปลงผ่านรูปแบบการสื่อสารความเป็นตัวตน 6 รูปแบบ 1) ผู้นำองค์กรธุรกิจระดับแนวหน้า 2) ผู้เชี่ยวชาญในการให้ความรู้วิเคราะห์ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ 3) เป็นตัวแทนสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ 4) การเป็นคนดีเพื่อตอบแทนสังคม 5) การวางตัวเป็นแบบอย่างต่อคนในสังคม และ 6) นักเดินทางเพื่อแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยนำเสนอผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1) การนำเสนอผ่านสื่อประเภทหนังสือ 2) การนำเสนอผ่านสื่อประเภทวิทยุโทรทัศน์ 3) การนำเสนอผ่านมูลนิธิอมตะ และ 4) การนำเสนอผ่านการทำคาราวาน
To make understanding composition of personal identities of people at the present, it is required to study the effects of globalization on the social contexts which have been constantly changing. This is a challenge for people to manage and present themselves in term of self-communication to make a difference among diversities. The study is a qualitative research which aims to study the reflections of personal identity through writings in a case study of Vikrom Kromadit by studying from his writings totally 5 books, namely, See the World through the Eyes of Vikrom, I Would Be a Good Man in the issue of My Past Life Dreams, I Would Be a Good Man in the issue of Shaping Business, Eat & Live in Styles of Vikrom, and New life. The study was conducted by methods of content analysis with preparation of directory (Taxonomy), bringing the obtained data to fill data codes (Coding), as well as sorting and classifying to obtain the actual conclusion. The study results could be found that the personal identity of Vikrom Kromadit had correlations between personal identity and social identity. The systemic creation and presentation of identity were consistent with the processes as follows: Step 1: Strategic management before and after globalization, Step 2: Imitation under the context of branding of leading businesses through Amarta Organization and Amarta Foundation, Part 3: Presentation of identity which has transitions through 6 forms of self-communications including 1) Leaders of leading businesses 2) Experts in education and analysis of social and economic issues. 3) Being a representative to build cooperation and international relations 4) Being a good people to reward the society 5) Being a good model for people in the society, and 6) Being a traveler to seek for new experiences by presenting through 4 channels as follows: 1) Presenting through media in form of book 2) Presentation through media in forms of radio and television 3) Presenting through Amarta Foundation, and 4) Presenting through caravanning.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
ปฐมาพร เนตินันทน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1174
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
saranya_kitt.pdf10.28 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback