DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1119

Title: แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC
Other Titles: Factors Motivation for Self-development of ABC’s Employees
Authors: สุรัตนา จงรักษ์
Keywords: พนักงานบริษัท ABC
แรงจูงใจ
การพัฒนาตนเอง
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัย เรื่อง แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC ในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสถานภาพ ที่มีมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทABC (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC และมีการกำหนดสมมติฐานของการศึกษา คือ (1) ปัจจัยทางด้านสถานภาพที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทABC แตกต่างกัน (2) ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง มีอิทธิพลต่อรูปแบบแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัท ABC จำนวน 187 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหาของแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิด คือ (1) ปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับลักษณะของพนักงาน (2) แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง จำแนกเป็น แรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก (3) แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABCและใช้สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย การหาค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวน T-test และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน F-test (Analysis of Variance: ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 65.24 และเป็นเพศชาย จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 34.76 มีอายุระหว่าง 30 -40 ปี มากที่สุด จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 39.57 รองลงมา คือ อายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 33.69 มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 69.52 รองลงมา คือ สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 25.13 มีอายุงาน 5 - 10 ปี มากที่สุด จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 58.82 รองลงมา คือ อายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 24.60 และเคยเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 95.72 และไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 4.28 ตามลำดับ 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC โดยเฉพาะแรงจูงใจภายในภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.025 ส่วนแรงจูงใจภายนอกภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.088 และจากการศึกษาตามปัจจัยทางด้านการศึกษาในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.948 ด้านการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.087 และด้านการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.241 3. การทดสอบตามสมมติฐาน พบว่า 3.1 การเคยเข้ารับฝึกอบรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC แตกต่างกัน 3.2 การพยากรณ์อิทธิพลเชิงบวกต่อแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทABC พบว่า แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองด้านการฝึกอบ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทABC มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการศึกษาต่อ และด้านการเรียนรู้
The purposes of this research were to: (1) study the status factors affecting motivation for self-development of ABC’s employees and (2) study the factors affecting motivation for self-development of ABC’s employees. The hypothesis consisted of: (1) different factors affected different motives for self-development of ABC’s employees and (2) there were some motivation factors affecting motivation for self-development of ABC’s employees. The samples were 187 employees working at ABC. The research tool employed was a questionnaire on the motivation for self-development of ABC’s employees. The researcher divided the questionnaire into three parts to match the conceptual framework: (1) the personal factors concerning employees’ characteristics, (2) motivation for self-development classified by internal and external motivation, and (3) motivation for self-development of ABC’s employees. The gathered data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviaton, t-test, F-test (Analysis of Variance: ANOVA), and multiple regression analysis. The study revealed the following: 1. The samples were 122 females or 65.24 percent and 65 males or 34.76 percent. Most females were 30 – 40 years old (74 persons) at 39.57 percent, followed by 41-50 years old (63 persons) at 33.69 percent. They were educated to bachelor’s degree level (130 persons) at 69.52 percent, followed by higher education levels than bachelor’s degree (47 persons) at 25.13 percent. Most of them had worked 5-10 years (110 persons) at 58.82 percent, followed by 10 years or more (46 persons) at 24.60 percent. The majority had attended training courses (179 persons) at 95.72 percent, while a small minority had never participated (8 persons) at 4.28 percent. 2. Overall opinions about motivation for self-development of ABC’s employees were at a high level ( = 4.088). When studying each aspect, the educational factor ranked at a high level ( = 3.948), the training factor ranked at a high level ( = 4.087) and the learning factor ranked at the highest level ( = 4.241). 3. Testing the hypothesis found that: 3.1 Different training attention levels resulted in differing motivation levels for self-development of ABC’s employees. 3.2 When forecasting the position effect on motivation for self-development of ABC’s employees, the study showed that motivation for self-development in terms of training was the most influential factor affecting motivation for self-development of ABC’s employees, followed by higher education and learning.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2557
Advisor(s): ประจวบ เพิ่มสุวรรณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1119
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
surattana.jong.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback