DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1106

Title: ปัญหาการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
Other Titles: Problem concerning the analysis of Literary Adaptation Under the Copyright Act B.E. 2537
Authors: กรณัฏฐ์ เตชะประเสริฐพร
Keywords: การดัดแปลง
งานวรรณกรรม
การวินิจฉัย
คำพิพากษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 นั้นได้ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทต่าง ๆ งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นอย่างมากและแพร่หลายมากที่สุดนั้นก็คือ งานประเภทวรรณกรรม ซึ่งในปัจจุบันนี้งานวรรณกรรมก็มีการพัฒนาวิธีการเขียนออกไปอีกหลากหลายรูปแบบและงานวรรณกรรมที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการเขียนนั้นก็มักจะถูกนำไปดัดแปลงเป็นงานวรรณกรรมขึ้นมาใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของวรรณกรรมเดิม ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แต่เมื่อมีการฟ้องร้องคดีที่ศาลเพื่อพิสูจน์ถึงความผิดของผู้กระทำแล้ว ก็จะเกิดปัญหาตามมาว่าศาลที่ตัดสินคดีการดัดแปลงงานวรรณกรรมนั้น มีวิธีการหรือแนวทางในการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมเช่นไร และแนวทางหรือวิธีการที่ศาลนำมาใช้นั้น สามารถใช้เป็นมาตรฐานในการศึกษาถึงแนวทางที่แน่นอนที่ศาลจะนำมาใช้ในการตัดสินคดีการดัดแปลงงานวรรณกรรมในอนาคตได้หรือไม่ โดยแนวทางการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมที่ผู้วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางในการวินิจฉัยไว้ มีอยู่สองแนวทางด้วยกัน คือ การวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมโดยแยกส่วนพิจารณาและการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมโดยพิจารณารวมทุกส่วนซึ่งในคดีของอาจารย์ไพจิตย์ ปุญญพันธุ์ นั้น ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นการดัดแปลงงานวรรณกรรมโดยแยกส่วนพิจารณา โดยศาลได้แบ่งคำศัพท์ในพจนานุกรมออกมา 7 คำ จากเนื้อหาทั้งหมดอีกทั้งศาลยังได้ทำการแบ่งส่วนการวินิจฉัยคำออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่หนึ่งได้แก่ คำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการวิจารณ์ ส่วนที่สองเนื้อหาการวิจารณ์ และส่วนที่สามซึ่งเป็นส่วนที่พิพาทกันในคดีนี้ คือ ส่วนความหมายของคำศัพท์ ตามที่ควรจะเป็น ในขณะที่การวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมประเภทนวนิยายในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมโดยการพิจารณารวมทุกส่วน ดังนั้นสารนิพนธ์เล่มนี้จะทำการศึกษาถึงแนวทางการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมของศาลไทยและทำการศึกษาถึงแนวทางการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจะหาข้อพิสูจน์ถึงแนวทางหรือวิธีการที่ศาลไทยและศาลประเทศสหรัฐอเมริกาว่ามีความแน่นอนหรือเป็นที่คาดหมายของผู้ที่สนใจจะศึกษาคำพิพากษาของศาลได้หรือไม่เพื่อทำให้เกิดแนวทางหรือวิธีการที่แน่นอนหรือคาดหมายได้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาถึงแนวทางของการวินิจฉัยการดัดแปลงงานวรรณกรรมของศาลต่อ ๆ ไป
The Copyright Act B.E. 2537 protects the copyright of copyrighted works. The copyrighted work which has been modified most frequently and widely is literature. At present, many new writing methods of literature have been developed and the literature which its writing method is developed is often modified to be new literature without consent of the owner of original literature. The aforementioned act is deemed as offence subject to the Copyright Act B.E. 2537. When the case is sued in a court in order to prove offence of offender, there is consequent problem regarding what method or way will be used by such court to consider literature modification and whether such method or way can be used as standard to study the certain way which the court will use to judge the literature modification case in the future. The ways used to consider literature modification which I remark contain 2 ways which are considering the literature modification separately for each part of literature and considering the literature modification as a whole. For the case of professor Paichit Punyapan, I remark that it should be the literature modification separately for each part of literature. The court split 7 words in the dictionary from the whole content and separated consideration into 3 parts namely, the first part is vocabulary and its meaning which are objects of criticism, the second part is content of criticism and the third part which is the dispute of this case is the definition of the vocabulary as it should be. On the other hand, the consideration of literature modification for novel in the United States of America considers the literature modification as a whole. Therefore, this Independent Study will study about the way which the Thai court uses to consider literature modification and the way used to consider the literature modification in the United States of America in order to prove whether the way used by the Thai court and the American court is certain or can be expected by the person who is interesting to study the court’s judge. This will cause the certain or expectable way or method for the person who is interesting to further study the way which the court use to consider the literature modification.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1106
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Koranat.tech.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback