DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1105

Title: ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยในการเข้าใช้งานภายในอาคารสถานศึกษา
Other Titles: Factor of physical environment effecting the feeling of security in educational buildings
Authors: ศาสตรา ศรีวะรมย์
Keywords: ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ความรู้สึกปลอดภัย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ความปลอดภัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคาร กล่าวได้ว่า ปัจจัยด้านความปลอดภัยเป็นเงื่อนไขพื้นฐานในการป้องกันความเสียหาย อุบัติเหตุ และการเกิดอาชญากรรม ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องตกเป็นเหยื่อหรือตกอยู่ในความเสี่ยงนั้นเอง ซึ่งในการวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคารส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรมในการเข้าใช้งานภายในอาคารเรียน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งโดยใช้สถิติ T-test Independent เพื่อต้องการค้นหาว่าปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล (เพศ) มีผลต่อระดับความรู้สึกความปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรมหรือไม่ และ ค้นหาถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคารที่เข้าใช้งานที่มีผลต่อระดับความรู้สึกความปลอดภัยต่ออาชญากรรม ซึ่งได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม ได้แก่ ระดับของความส่องสว่าง ผังพื้น ระดับการมองเห็น โทนสี ความสูงของฝ้าเพดาน จำนวนของช่องเปิดประตูและหน้าต่าง ลักษณะของบันได จำนวนผู้ใช้งานภายในอาคาร การบริการรักษาความปลอดภัย ด้วยการใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) วิธีการแบบ All Enter คือ นำเอาปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคารทั้ง 9 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรม ซึ่งนำเอาตัวแปรของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคารทุกตัวเข้าระบบสมการพร้อมกัน ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ สรุปผลการวิจัยจากข้อมูลทั่วไปของกลุ่มจำนวนทั้งสิ้น 300 คน โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างเพศชาย 150 คน และเพศหญิง 150 คนประกอบไปด้วย พบว่า ปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล (เพศ) กับ ความรู้สึกปลอดภัยในการเข้าใช้งานภายในอาคาร (ระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรม) พบว่า ปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล (เพศ) ทั้ง 2 กลุ่มมีระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .062 ซึ่งสรุปได้ว่า ความแตกต่างในด้านเพศไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อกาเกิดอาชญากรรมในการเข้าใช้งานภายในอาคาร สรุปผลการวิจัยของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคาร กับ ความรู้สึกปลอดภัยในการเข้าใช้งานภายในอาคาร (ระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรม) พบว่า ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคารทั้ง 9 ตัวแปร ได้แก่ ระดับของความส่องสว่าง ผังพื้น ระดับการมองเห็น โทนสี ความสูงของฝ้าเพดาน จำนวนของช่องเปิดประตูและหน้าต่าง ลักษณะของบันได จำนวนผู้ใช้งานภายในอาคาร การบริการรักษาความปลอดภัย มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 สามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อการเกิดอาชญากรรมได้
Safety is one of the significant factors in an environmental interior design. In other words, to prevent the users from being in the risky situations, safety factor is the fundamental condition in order to prevent the damage, accidents, and crimes. This research is to study the environmental interior factors that influence on the levels of safeness from criminal incidents in entering the buildings, Bangkok University, Rangsit district. This is an observational experiment by using the t-test independent statistic to discover the factor of differences between genders that has an impact on the levels of safeness from criminal incidents and to find out the environmental interior that is used. This includes levels of light, floor plan, vision levels, colour tones, ceiling height, a number of doors and windows, quality of stairs, the quantity of users who enter the building and the safety maintenance by using statistic to calculate regression (Regression Analysis). As for the all enter process, bringing all 9 environmental interior factors (the levels of safeness from criminal incidents) by putting the variable of environmental interior factors into equation. To sum up, the result of the experiment from 300 people (divided into 150 male users and 150 female users) suggested that gender differences have nothing to do with the levels of safeness in using the building (the levels of safeness from criminal incidents) even though there are the differences in the levels of safeness from criminal incidents (at .062% statistically). Overall, the result of experimenting the interior environment and the secure feeling of the utilisers when entering the building (the levels of safeness from criminal incidents) has been proved that all environmental interior factors are light levels, floor plans, levels of vision, colour tones, ceiling height, the number of doors and windows, stair quality, the number of building users and security service are all significantly related to the levels of safeness from criminal incidents up to .005% statistically. This can be used to predict the levels of safeness from criminal incidents.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ชุมพร มูรพันธุ์
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1105
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sartra_sriw.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback