DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/846

Title: ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปกับความพึงพอใจในงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และการไม่ลาออกจากงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Authors: รัตนาวรรณ เวชนานนท์
Keywords: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ภาวะผู้นำ
ความพึงพอใจในการทำงาน
การลาออก
พนักงานธนาคาร
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ความเป็นมาของการวิจัย งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป โดยใช้แนวความคิดในทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Bass และ Avolio (1991) ในที่นี้ ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปก็หมายถึง ภาวะผู้นำของผู้จัดการสาขา ผู้จัดการสาขามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์การในการบริหารงานของแต่ละสาขา เมื่อมีผู้นำที่ดีย่อมก่อให้เกิด การทำงานที่ดีของพนักงานสาขาทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานว่า ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานสาขา ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานสาขา ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจไม่ลาออกจากงานของพนักงานสาขา ระเบียบวิธีการวิจัย พนักงานสาขาในเขตภาคนครหลวง 5 มีจำนวน 34 สาขา มีพนักงานประจำเขตภาคนครหลวง 5 ทั้งหมด 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในงาน ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน และในส่วนสุดท้ายการไม่ลาออกจากงาน โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 180 ชุด โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยในการทำวิจัยด้วยโปรแกรม SPSS Version 10.0 และใช้วิธีทางสถิติในการประมวลผลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ใช้สถิติทดสอบด้วย Regression และ Factor Analysis และ Cronbach Alpha เพื่อวัดความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างก็คือพนักงานธนาคารกรุงศรี มีสัดส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มีอายุในวัยรุ่นกลางคนมากกว่าอายุในระดับอื่น มีรายได้อยู่ที่ระดับปานกลาง พนักงานสาขาส่วนใหญ่การศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี ตำแหน่งงานจะอยู่ที่ระดับเจ้าหน้าที่ 1 และมีประสบการณ์การณ์ทำงานอยู่ในช่วง 1-5 ปีเสียเป็นส่วนใหญ่ ผลการวิจัย จากสมมติฐานภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของผู้จัดการสาขา พบว่าภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสาขา และภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานสาขา และสมมติฐานสุดท้ายพบว่าภาวะผู้นำ เชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์ในการตัดสินใจไม่ลาออกของพนักงานสาขา ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์สถิติทดสอบสมมติฐานนี้ด้วยวิธี Regression ข้อเสนอแนะ ผู้นำและพนักงานควรเปิดโอกาสได้มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันเนื่องจากเป็นการแลกเปลี่ยนทางความคิด และเพื่อทุกคนในหน่วยงานจะได้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันขององค์การ ข้อจากัดของการวิจัย ผู้วิจัยมีเวลาอย่างจำกัด ทำให้ไม่ได้เก็บรายละเอียดจากแบบสอบถามพนักงานทุกคนในองค์การ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ของการวางแผนของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดังนั้น ควรมีการวิจัยในพนักงานทุกคนในองค์การของธนาคารกรุงศรีอยุธยาในครั้งต่อไป เพื่อให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นและนำมาปรับปรุงให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำ--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานธนาคาร--ความพอใจในการทำงาน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจในการทำงาน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานธนาคาร--ไทย--การลาออก--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): วันชัย อริยะพุทธิพงศ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/846
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ratanawan_vasa.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback