DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/844

Title: การศึกษาความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กร ที่มีผลต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
Authors: พชรมน โหตระไวศยะ
Keywords: ความจงรักภักดีต่อองค์กร
ความผูกพันต่อองค์กร
บริษัทสหพัฒนพิบูล จำกัด
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กร ที่มีผลต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กร ที่มีผลกระทบต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และศึกษาถึงแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตกรุงเทพมหานคร โดยจะทำการสุ่มตัวอย่าง จาก บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีพนักงานระดับปฏิบัติการทำงานอยู่ ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ระดับความคลาดเคลื่อน + 5% ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นเองโดยศึกษาจากแบบสอบถามที่มีผู้วิจัยไว้แล้ว ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 7 ข้อ แบบสอบถามวัดระดับความผูกพันต่อองค์กร ที่มีผลต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน จำนวน 12 ข้อ แบบสอบถามวัดระดับความจงรักภักดีต่อองค์กร ที่มีผลต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน จำนวน 12 ข้อ และแบบสอบถาม วัดระดับแรงจูงใจภายใน ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.936 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธฺระหว่างตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression Analysis) และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม ทั้ง 3 ตัว โดยใช้การวิเคราะห์วัดความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient of Correlation) ซึ่งการวิเคราะห์ผลทำโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้ผลการวิจัย ดังนี้ 1. ระดับความผูกพันต่อองค์กร คือ ตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว ซึ่งประกอบด้วย ความผูกพันต่อความเป็นสถาบันขององค์กร ความผูกพันต่อเพื่อนร่วมงาน ความผูกพันต่องานที่ปฏิบัติและความผูกพันต่อผู้บังคับบัญชา สามารถอธิบายถึงการส่งผลต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์กรได้ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 2. ระดับความจงรักภักดีต่อองค์กร คือ ตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว ซึ่งประกอบด้วย ความภาคภูมิใจในชื่อเสียงขององค์กร ความเต็มใจทุ่มเทและอุทิศตนเพื่อองค์กร ความเชื่อถือและยอมรับในเป้าหมายขององค์กร ความต้องการที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์กร สามารถอธิบายถึงการส่งผลต่อแรงจูงใจภายใน ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด(มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์กรได้ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 3. ระดับแรงจูงใจภายใน ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์กร คือ ตัวแปรตามทั้ง 3 ตัว ซึ่งประกอบด้วย ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับความยอมรับนับถือ และความก้าวหน้าในการทำงาน โดยความสัมพันธ์ของตัวแปรตามทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์กันเอง ที่ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ซึ่งด้านที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุดระหว่างตัวแปรตามได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน ของพนักงานที่มีต่อองค์กร ในด้านความสำเร็จในการทำงานมี ความสัมพันธ์กับแรงจูงใจภายใน ในการทำงาน ของพนักงานในด้านการได้รับความยอมรับนับถือ ผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลให้กับองค์กรและผู้บริหารใช้ในการพัฒนาองค์กร โดยได้ให้ตระหนักถึงระดับความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน ที่มีผลต่อแรงจูงใจ ภายใน ในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อองค์กร ซึ่งเป็นบุคลากรที่สำคัญขององค์กร เพื่อหาทางแก้ไขข้อบกพร่องและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีความเสี่ยง ที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน ทำให้พนักงานอาจเกิดความไม่พอใจและลดระดับความผูกพันและความจงรักภักดีลง ส่งผลเสียในการ ปฏิบัติงาน ทั้งตัวพนักงานและองค์กร และเพื่อให้องค์กรได้ทำการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร และเพื่อส่งผลให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความภักดีของลูกจ้าง--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทสหพัฒนพิบูล--พนักงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/844
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
patcharamon_hota.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback