DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/638

Title: การวิเคราะห์เนื้อหาและความมุ่งหมายของละครสามช่าในรายการวาไรตี้เกมโชว์ “ชิงร้อยชิงล้าน”
Authors: วรุตม์ จันทหิรัญ
Keywords: การวิเคราะห์เนื้อหาละคร
ความมุ่งหมายของละคร
ละครสามช่า
รายการชิงร้อยชิงล้าน
ชิงร้อยชิงล้าน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาและความมุ่งหมายของละครสามช่าในรายการวาไรตี้ เกมโชว์ “ชิงร้อยชิงล้าน” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาของละครสามช่าในรายการวาไรตี้เกมโชว์ “ชิงร้อยชิงล้าน” 2) เพื่อศึกษาความมุ่งหมายของละครสามช่าในรายการวาไรตี้เกมโชว์ “ชิงร้อยชิงล้าน” ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากคลิปออกอากาศย้อนหลังของละครสามช่าในรายการวาไรตี้เกมโชว์ “ชิงร้อยชิงล้าน” และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) จากครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ รายการ “ชิงร้อยชิงล้าน” ผลการวิจัยพบว่า ละครสามช่าในรายการวาไรตี้เกมโชว์ “ชิงร้อยชิงล้าน” จัดอยู่ในประเภทของละคร TV. Series หรือละครสั้น เนื้อหาโครงเรื่องนำมาจากภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี การ์ตูน และนิทาน มาดัดแปลงเป็นละครตลก แต่ละตอนมีเนื้อหาที่หลากหลาย ได้แก่ 1) ความรัก 2) ประวัติศาสตร์ 3) เหตุการณ์ร่วมสมัย การเล่าเรื่องใช้การแนะนำตัวละครหลักให้ปรากฏออกมาทีละตัว ตอนจบมีความหลากหลาย ได้แก่ 1) จบแบบมีความสุข Happy Ending 2) จบแบบผิดหวัง 3) จบแบบเป็นปริศนาให้คนดูนำกลับไปคิดต่อ มีการวางแก่นเรื่องไว้ล่วงหน้า ลักษณะของแก่นเรื่องที่พบ คือ 1) แบบ Love Theme 2) แบบ Morality Theme 3) แบบ Idealism Theme 4) แบบ Power Theme 5) แบบ Career Theme 6) แบบ Outcast Theme ความขัดแย้งส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล ใช้ตัวละครหลักเป็นตัวผลักดันให้เรื่องราวดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ ตัวละครมีลักษณะไม่ซับซ้อนมาก ให้ความสำคัญกับตัวละครในเรื่องและนักแสดงเท่าๆ กัน ในบางตอนมีการให้ตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวเล่าเรื่องราวต่างๆ องค์ประกอบด้านภาพ ฉากในแต่ละตอนใช้เวลาสร้าง 1 สัปดาห์ ในการคิดออกแบบและผลิตสร้างขึ้นมา ซึ่งฉากต่างๆ มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหา รวมทั้งช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ และช่วยเสริมในเรื่องของการแสดงของนักแสดง มีการใช้ภาพมุมกล้องต่างๆ ได้แก่ 1) ภาพ Long Shot 2) ภาพ Full Shot 3) ภาพ Medium Shot 4) ภาพ Close up Shot 5) มุมสายตานก (Bird’s eye View) 6) มุมต่ำ(Low Angle Shot) รวมทั้งมีการใช้การตัดต่อภาพ และเทคนิคพิเศษใส่ลงไปในบางตอน ในส่วนของการแสดงจะใช้พลังของกลุ่มนักแสดงตลกที่มีชื่อเสียงที่เป็นนักแสดงหลักของรายการ องค์ประกอบด้านเสียง มีการนำเอาเพลงและดนตรีประกอบใส่ลงไป และในบางตอนมีการให้นักแสดงร้องเพลงในละคร ในส่วนของบทสนทนา ทางทีมงานกับนักแสดง จะช่วยกันคิดบทของตัวละครออกมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบทสนทนาเกี่ยวกับมุขตลก และส่วนที่เหลือจะเป็นบทสนทนาที่ให้ข้อคิด ความรู้ หรือแง่มุมต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ชม ความมุ่งหมายของละครสามช่าที่ปรากฏในแต่ละตอน ได้แก่ 1) การตอบสนองความ ต้องการทางอารมณ์ของมนุษย์ (Emotional Needs) 2) การชำระล้างจิตใจ 3) การยกระดับความคิดและสติปัญญา 4) กระตุ้นให้เกิดพลังใจในการดำเนินชีวิต
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ละครโทรทัศน์--สามช่า--วิจัย
ละครโทรทัศน์--วิจัย
บทละครไทย--สามช่า--วิจัย
บทละคร--สามช่า--วิจัย
บทละคร--วิจัย
Advisor(s): ณัฐพล ปัญญโสภณ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/638
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
warut_janh.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback