DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/573

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์และการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธนาคาร
Authors: วราลี ทองพุ่มพฤกษา
Keywords: บริษัทมหาชน
มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์
เงินทุน
เงินปันผล
ธนาคารและการธนาคาร
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: โครงสร้างเงินทุนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งเงินทุนเพอื่ การบริหารงานหรือลงทุนในโครงการใหม่ ๆ ถ้าบริษัทสามารถบริหารต้นทุนของเงินทุนรวม ทั้งหมดให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด จะทำให้มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น งานวิจัยนี้เป็น ประโยชน์ต่อผู้บริหารในการนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดโครงสร้างเงินทุน ที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนในการวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจลงทุนเพื่อลด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยฉบับนี้ คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธนาคาร จำนวน 11 บริษัท ช่วงปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2552 รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 55 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธนาคาร จะใช้ หนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นในโครงสร้างเงินทุน เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องมีเงินสดจำนวน มาก เพื่อให้มีความสามารถในการจ่ายเงินตามภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อบุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการสินเชื่อ หรือการถอนเงิน โดยบริษัทมีการจัดหาเงินทุนตามลำดับขั้น เนื่องจากจะทำ ให้บริษัทมีต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำ ส่งผลให้มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์สูง แต่การที่บริษัทมีหนี้สินที่ มากส่งผลให้ผู้ถือหุ้นมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ราคาหลักทรัพย์ต่ำ อีกทั้งยังทำให้เงินปันผลต่ำ เนื่องจากมีภาระผูกพันในการจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก สำหรับโครงสร้างเงินทุนไม่มีความสัมพันธ์ กับราคาหลักทรัพย์ ซึ่งราคาหลักทรัพย์ของอุตสาหกรรมนี้อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ปัจจัยด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเมือง เป็นต้น สำหรับ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาหลักทรัพย์ เนื่องจากการที่ บริษัทมีหนี้สินที่สูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น ทำให้มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์สูง แต่มีราคาหลักทรัพย์ ที่ต่ำ เนื่องจากผู้ถือหุ้นมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น สำหรับโครงสร้างเงินทุนไม่มีความสัมพันธ์กับการ จ่ายเงินปันผล และสำหรับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์กับการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากการจ่ายเงินปันผลของอุตสาหกรรมนี้ อาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น นโยบายการจ่ายเงินปันผล ของบริษัท หรืออื่น ๆ เป็นต้น
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: บริษัทมหาชน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
เงินทุน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
เงินปันผล--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารและการธนาคาร--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ชุติมาวดี ทองจีน
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/573
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
waralee_tongp.pdf811.73 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback