DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/536
|
Title: | การโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภคในประเทศไทย |
Authors: | สหเทพ เพ็ชรเกลี้ยง |
Keywords: | โฆษณาออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภค |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบ ระหว่างการโฆษณา
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกบั การรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภค เพื่อศึกษารูปแบบการโฆษณาผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภค และ ศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสรรค์ของการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้าตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจาก ประชากรที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จานวน 400 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่ตัวอย่างได้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง มีค่าความ
เชื่อถือในระดับร้อยละ 95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน โดยเรียงลำดับ 2 ขั้นตอน คือ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และการสุ่มตัวอย่าง
โดยใช้ความสะดวก โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้บรรยายเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป คือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามคือ สถานที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ระยะเวลาที่ใช้งาน
อินเทอร์เน็ต ช่วงเวลาที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต การรับสื่อโฆษณา
ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้ใช้สถิติเชิงอ้างอิง ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัว
แปรที่ศึกษา คือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับ การรับรู้ตรา
สินค้าของผู้บริโภคใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Pearson Correlate) และการวิเคราะห์ผลกระทบ
ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา คือ การวิเคราะห์ผลกระทบระหว่างการโฆษณาผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตที่มีต่อการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภคใช้ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple
Regression) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีเพศหญิงและมีช่วงอายุ 20-25 ปี และมีสถานภาพสมรสโสดมากที่สุดและมีระดับการศึกษาระดับ ปริญญาตรีมีอาชีพส่วนใหญ่มีอาชีพ
นักเรียน/นักศึกษามาก จะมีพฤติกรรมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่บ้านและมีการใช้งานอินเทอร์เน็ต
4 ชั่วโมงขึ้นไป มีช่วงเวลาใช้งาน 20.01-24.00 และใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงและได้รับ
สื่อโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต 1-3 โฆษณาต่อวัน และพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญ การจัดวาง ตำแหน่งของการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้รูปภาพเคลื่อนไหว ในการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ลา ดับต่อมาเป็นข้อความที่ใช้ในการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ ต่อมาเป็นเสียงที่ใช้ในการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และสุดท้ายเป็นรูปภาพนิ่งที่ใช้ในการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยในงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการทดสอบสมมุติฐานแล้วพบว่า การโฆษณาผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กบั การรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภค สมมุติฐานต่อมาคือ การโฆษณาผ่าน
ระบบอินเทอร์เน็ต มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภค สมมุติฐานสุดท้ายคือรูปแบบของ
ข้อความ รูปภาพนิ่ง รูปภาพเคลื่อนไหว เสียง และ การจัดวางตาแหน่งของโฆษณาผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตส่งผลต่อการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภค
ผลดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า การสร้างสรรค์โฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความ
น่าสนใจและมีความน่าดึงดูด ทา ให้ผู้บริโภคนั้นรับรู้ตราสินค้าได้เป็นอย่างดีนั้นสามารถที่จะใช้
รูปแบบของข้อความ การใช้ภาพนิ่ง การใช้ภาพเคลื่อนไหว รูปแบบ ของเสียง การจัดวางตำแหน่ง
มาทำการสร้างสรรค์โฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ |
Description: | การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554 |
Subjects: | โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี โฆษณา--ชื่อตราผลิตภัณฑ์--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต--การศึกษาเฉพาะกรณี โฆษณา--ชื่อตราผลิตภัณฑ์--การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Advisor(s): | ศศิประภา ชัยประสิทธ์ิ |
URI: | http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/536 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|