DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/467

Title: เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรีโสดในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: ริษฎา แซ่ว่อง
Keywords: เครื่องสำอาง
ครีมบำรุงผิว
การสื่อสารการตลาด
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาถึงลักษณะทางประชากรศาสตร์ การเปิดรับเนื้อหา ข่าวสาร และเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุง ผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรีโสดในเขตกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่ง เป็นกลุ่มผู้หญิงโสดที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 25 – 40 ปี และใช้ผลิตภัณฑ์ บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรี จำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multistage random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว One-Way ANOVA (Analysis of Variance) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึง ใช้การทดสอบรายคู่ โดยวิธีการของ LSD Test และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) เพื่อดูลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่1กับตัวแปรที่2 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี จบการศึกษาสูงสุดใน ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ด้านการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรี พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วน ใหญ่มีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (Sunscreen) โดยมีเหตุผลในการเลือกซื้อ คือ มีความ ต้องการดูแลรักษาสภาพผิว และสิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับ สุภาพสตรีมากที่สุด คือ การพิจารณาจากคุณภาพของสินค้า ด้านการเปิดรับเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับ คุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ ราคาจำหน่าย การแจกผลิตภัณฑ์ให้ทดลองใช้ การมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่เป็นสมาชิก และการจัดกิจกรรมพิเศษ จากสื่อพนักงานขายมากที่สุด การศึกษาเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรีในด้านต่างๆ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. ด้านการโฆษณา มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับ สุภาพสตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การโฆษณาทางวิทยุ (r=0.156) และการ โฆษณาทางเอกสาร/แผ่นพับ/โบร์ชัวร์ (r=0.144) โดยทั้งสองข้อมีความสัมพันธ์ในทางบวกและมี ความสัมพันธ์ในระดับต่ำ 2. ด้านการขายโดยบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า สำหรับสุภาพสตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การแนะนำสินค้าจากพนักงานขาย (r=0.102) โดยมีความสัมพันธ์ในทางบวกและมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ 3. ด้านการตลาดทางตรง มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับ สุภาพสตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การขายโดยใช้แคตตาล็อก (r=0.104) โดยมี ความสัมพันธ์ในทางบวกและมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ 4. ด้านการส่งเสริมการขาย ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า สำหรับสุภาพสตรี 5. ด้านการเผยแพร่ข่าวและประชาสัมพันธ์ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพสตรี 6. ด้านการแนะนำ/บอกต่อ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า สำหรับสุภาพสตรี
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ครีมบำรุงผิว--การตลาด--วิจัย
เครื่องสำอาง--การตลาด--วิจัย
การจัดการตลาด--วิจัย
การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
ความพอใจของผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
ผู้บริโภคสตรี--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
Advisor(s): สันติธร ภูริภักดี
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/467
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
risada_chai.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback