DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/460

Title: การศึกษาการยอมรับระบบบริหาร ด้วยหลักการสมดุลเพื่อประสิทธิผลสูงสุด : กรณีศึกษา บริษัท ดีคอม กรุ๊ป จำกัด
Authors: กวิสรา แซ่ลิ้ม
Keywords: หลักการสมดุล
บริษัท ดีคอม กรุ๊ป จำกัด
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง การยอมรับระบบบริหาร ด้วยหลักการสมดุลเพื่อ ประสิทธิผลสูงสุด (Balance Management for High Performance: BMHP) กรณีศึกษาบริษัท ดีคอม กรุ๊ป จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของพนักงานต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร BMHP และศึกษาการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเทียบกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทัศนคติ และ กลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลง โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 235 คน ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สหสัมพันธ์ (Correlation) เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้สมมติฐานดังนี้ 1. ลักษณะประชากรศาสตร์สัมพันธ์กับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร 2. ทัศนคติของพนักงานสัมพันธ์กับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร 3. กลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการปรับพฤติกรรมพนักงานสัมพันธ์กับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ด้านประชากรศาสตร์ มีการวิเคราะห์ 6 ด้านได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อายุงาน สาขาที่ปฏิบัติงาน และตำแหน่งงาน พบว่ามีเพียงข้อมูลระดับการศึกษาเท่านั้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร นอกนั้นมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร แต่อยู่ในระดับต่ำ 2. ด้านทัศนคติของพนักงานที่มีต่อระบบบริหาร BMHP พบว่าระดับทัศนคติพนักงานที่มีต่อระบบบริหาร BMHPแตกต่างกันมีพฤติกรรมการยอมรับระบบบริหาร BMHP แตกต่างกัน อยู่ในระดับต่ำ 3. ด้านกลยุทธ์ที่นามาใช้ในการปรับเปลี่ยน พบว่า ระดับทัศนคติต่อกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานแตกต่างส่งผลต่อการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารแตกต่างกัน โดยมีการวิเคราะห์กลยุทธ์รายด้านดังนี้ 3.1 การใช้กลยุทธ์การให้การศึกษาและการติดต่อสื่อสารแตกต่างกันมีพฤติกรรมการยอมรับระบบบริหาร BMHP แตกต่างกัน 3.2 การใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมและส่วนเกี่ยวข้องแตกต่างกันมีพฤติกรรมการยอมรับระบบบริหาร BMHP แตกต่างกัน 3.3 การใช้กลยุทธ์การอำนวยความสะดวกและการสนับสนุนแตกต่างกันมีพฤติกรรมการยอมรับระบบบริหาร BMHP แตกต่างกัน 3.4 การใช้การใช้กลยุทธ์การใช้อานาจบังคับอย่างชัดเจนและไม่ชัดเจนแตกต่างกันมีพฤติกรรมการยอมรับระบบบริหาร BMHP แตกต่างกัน กลยุทธ์ทุกข้อมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารอยู่ในระดับต่ำ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารองค์กรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้บริหารควรดูแลอย่างใกล้ชิดให้ข่าวสารต่างๆอย่างชัดเจนและถูกต้อง ให้กำลังใจพนักงาน และทำให้พนักงานรู้สึกถึงความสาคัญของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลดีต่อพนักงาน รวมทั้งให้มีความรู้สึกมีส่วนร่วม และหลังจากได้มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารไปแล้วเต็มรูปแบบ ควรทำการศึกษาพฤติกรรมของพนักงานอีกครั้งเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: การบริหารงานบุคคล--ไทย--วิจัย
การบริหารธุรกิจ--วิจัย
พนักงานบริษัท--ไทย--วิจัย
บริษัทดีคอม กรุ๊ป--พนักงาน--วิจัย
บริษัทดีคอม กรุ๊ป--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ประจวบ เพิ่มสุวรรณ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/460
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kavissara_sael.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback