DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/414

Title: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส
Authors: ทีม ติ้งสมชัยศิลป์
Keywords: โฆษณา
รถไฟฟ้า
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีต่อสื่อโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางประชากรที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 18 ขึ้นไป จานวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ตารางแจกแจงความถี่ เพื่อใช้อธิบายข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานใช้ การหาค่า (t - test) และ One Way ANOVA กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษาสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุไม่เกิน 22 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเทียบเท่า 10,000 บาท 2) ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสแบบนาน ๆ ครั้งส่วนใหญ่จะใช้บริการเวลา 17.01 – 19.00 น. (ช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเย็น) และมีวัตถุประสงค์เพื่อสันทนาการ (เที่ยว/ช้อปปิ้ง) 3) สื่อโฆษณาบริเวณสถานี ตำแหน่งที่มีการเปิดรับมากที่สุดคือ พลาสมาสกรีน สื่อโฆษณาที่ติดตั้งที่ขบวนรถ ตำแหน่งที่มีการเปิดรับมากที่สุดคือ จอ LCD องค์ประกอบในสื่อโฆษณาที่ผู้ใช้บริการสนใจมากที่สุดคือ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการเห็นด้วยมากที่สุดคือ สื่อโฆษณาสร้างความเพลิดเพลินในระหว่างการเดินทาง และส่วนใหญ่สามารถจดจำตราสินค้าได้ 4) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ติดตั้งที่ขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้แก่ อาชีพ 5) พฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ได้แก่ ช่วงเวลาในการใช้บริการ 6) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น พบว่าสถานภาพมีผลต่อความคิดเห็นของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: รถไฟฟ้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การขนส่งมวลชน--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
โฆษณาทางโทรทัศน์--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมข่าวสาร--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): วีระพงศ์ มาลัย
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/414
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
team_ting.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback