DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/401

Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
Authors: ทิพวารินท์ กลิ่นโชยสุคนธ์
Keywords: บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
พนักงานบริษัท
ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของพนักงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ที่มีต่อการปฏิบัติงาน ศึกษาพฤติกรรมของพนักงาน ศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของพนักงาน และศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มของปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในปัจจัยด้านต่างๆ ของพนักงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย จำนวน 200 คน โดยจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา ระยะเวลาในการปฎิบัติงาน และรายได้ที่ได้รับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้Chi-square สถิติ t – Test และวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One – Way Analysis of Variance (One – Way ANOVA) ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 4 ปีขึ้นไป และเงินเดือน 15,000 – 20,000 บาท และเกี่ยวกับพฤติกรรมของพนักงาน โดยส่วนใหญ่แล้ว ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมขององค์กรเป็นบางครั้ง มาทางานสายโดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน ลาพักร้อนและลากิจโดยเฉลี่ย 1-5 ครั้งต่อปี วันศุกร์เป็นวันที่ความสุขในการทำงาน และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขณะปัจจุบัน พบว่า ด้านที่มีความ พึงพอใจสูงสุด คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร อีก 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความพึงพอใจในระดับต่ำได้แก่ หน่วยงานของท่านมีการจัดเก็บข้อมูล เอกสารเป็นระบบ สะดวกและง่ายต่อการค้นคว้า การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษาระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เงินเดือน ไม่มีต่อพฤติกรรมทุกด้าน ดังนั้นจึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน ใน ทุกๆด้านไม่ต่างกัน เนื่องจากค่านัยสำคัญที่ได้ มีค่ามากกว่าค่านัยสำคัญที่กำหนดคือ 0.05 ดังนั้นจึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ความพอใจในการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานบริษัท--ความพอใจในการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพชีวิตการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)--พนักงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ประจวบ เพิ่มสุวรรณ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/401
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tipvarin_klin.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback