DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/397

Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: ทัศพร อัครเวศย์
Keywords: การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
การตลาด
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบ พกพา (โน้ตบุ๊ก) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และศึกษาปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) ของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล ทำการสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่เคยซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) มาใช้ แล้วในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีสุ่มตามสะดวก (Convenience Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ (One-way Anova) และสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 23-30 ปีมากที่สุด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน / รับจ้างทั่วไปมากที่สุด และมี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่10,001-20,000 บาท ยี่ห้อที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้งานมากที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อเอเซอร์(Acer) รองลงมาคือ ยี่ห้อเอชพี(HP) โดยมีเหตุผลที่เลือกใช้เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ ในชีวิตประจำวันหรือในหน้าที่การงาน ราคาเฉลี่ยต่อเครื่องที่เหมาะสมอยู่ที่ราคา 20,001-30,000 บาท เลือกใช้วิธีการซื้อแบบเงินสด สถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างสะดวกไปเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบ พกพา (โน้ตบุ๊ก) มากที่สุด คือ ห้างสรรพสินค้าด้านไอที อย่างพันทิพย์พลาซ่า ใช้ระยะเวลาในการ หาข้อมูล วางแผนการตัดสินใจเลือกซื้อภายใน 1 เดือน ส่วนใหญ่จะหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาก ที่สุด ซึ่งเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อมากที่สุดเช่นกัน และผู้มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) คือ ตนเอง ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) มากเป็น อันดับแรก รองลงมา คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด และปัจจัยด้าน ราคา จากการทดสอบสมมติฐาน ด้วยวิธีการทดสอบค่าที และค่าเอฟ (One-way Anova) พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อ คอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการ ทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์(Chi-Square) พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) มีการพัฒนา ปัจจัยทางการตลาดให้มีความเหมาะสม เพื่อตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบ พฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) ระหว่างผู้บริโภคเพศชายและหญิง หรือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก) ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอื่น นอกจากนี้อาจมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ด้านอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับพฤติกรรมการ เลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ก)
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
การเลือกซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--วิจัย
การเลือกซื้อสินค้า--ไทย--วิจัย
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์--การจัดซื้อ--วิจัย
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์--การตลาด--วิจัย
Advisor(s): ศศนันท์ วิวัฒนชาติ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/397
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tussaporn_aka.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback