DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/339

Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: บุศรินทร์ ชลานุภาพ
Keywords: การศึกษาความสัมพันธ์
การดูแลสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพ
การออกกำลังกาย
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติในการดูแล สุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างทัศนคติในการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงาน ซึ่ง การศึกษาครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คนและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา โดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติ บรรยาย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติวิเคราะห์ คือ การทดสอบค่าไคกำลังสอง (Chi-Square Test) ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า 1. พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า บุคคล วัยทำงานมีจำนวนวันที่ใช้ในการออกกำลังกายที่ ไม่แน่นอน แต่ถ้าจะออกกำลังกาย ส่วนใหญ่จะ ออกกำลังกาย ช่วงเวลา 17.01 - 21.00 น. เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายโดยเฉลี่ยคือ ไม่เกิน 30 นาที / ครั้ง รองลงมาคือ 30-59 นาที / ครั้ง ซึ่งวิธีที่ใช้ออกกำลังกายมากที่สุดคือ การเดิน รองลงมาคือ การวิ่ง โดยสถานที่ที่ใช้ในการออก กำลังกายเป็นประจำ มากที่สุด คือ สวนสาธารณะ / ศูนย์สุขภาพ รองลงมาคือ บริเวณบ้าน โดยมี จุดประสงค์ในการออกกำลังกาย เพื่อรักษาสุขภาพ ทำใหร้ ่างกายแข็งแรง มากที่สุด รองลงมาคือ ผ่อนคลายความเครียด 2. บุคคลวัยทำงาน มีทัศนคติการดูแลสุขภาพกายระดับมาก และมีทัศนคติการดูแล สุขภาพจิตระดับมากที่สุด 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน 3.1 เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใน 2 ด้านด้วยกันคือ ด้านจำนวนวันที่ใช้ใน การออกกำลังกายต่อสัปดาห์ และด้านจุดประสงค์ในการออกกำลังกาย 3.2 อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านจุดประสงค์ในการออกกำลังกาย 3.3 สถานภาพครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของ บุคคลวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.4 ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัย ทำงานในเขต กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านเวลาที่ใช้ในการออก กำลังกายโดยเฉลี่ย 3.5 อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานใน เขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกาย โดยเฉลี่ย 3.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของ บุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.7 ทัศนคติในการดูแลสุขภาพกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านจำนวนวันที่ ใช้ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ 3.8 ทัศนคติในการดูแลสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านจำนวนวันที่ ใช้ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ทัศนคติต่ออนามัย--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมสุขภาพ--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การออกกำลังกาย--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วัยกลางคน--ไทย--กรุงเทพฯ--ทัศนคติ--แง่อนามัย--การศึกษาเฉพาะกรณี
บุคคลวัยกลางคน--ไทย--กรุงเทพฯ--ทัศนคติ--แง่อนามัย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/339
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Busarin_char.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback