DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2380

Title: การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ "Vaxigrip" กรณีศึกษาแพทย์ในประเทศไทย
Authors: กิตติ ล้ำลักษณ์เลิศ
Keywords: การสื่อสารการตลาด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเฉพาะบุคคลเรื่อง การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ “Vaxigrip” กรณีศึกษาแพทย์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ การ สื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ “Vaxigrip” กรณีศึกษาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยทำ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นแพทย์ที่เคยใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 400 ราย ด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) แล้วนา ข้อมูลที่ได้รับมาทำ การประมวลผลด้วยโปรแกรมทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ Mean, Standard Deviation, Alpha Coefficient, Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ที่พบจากวิจัยครั้งนี้ สามารถนำวางกลยุทธ์การเพื่อพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพได้ โดยทางผู้วิจัยจะ แยกแยะออกเป็น 5 หัวข้อดังนี้ 1.โดยด้านโฆษณาต้องผ่านพนักงานขายเป็นหลัก รองมาผ่าน นิตยสารด้านวงการแพทย์และผ่านนิตยสารรายเดือนของบริษัท (vaccine news) 2.โดยด้านส่งเสริม การตลาดต้องผ่านการจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆเป็นหลัก รองมาคือการลดราคา "Vaxigrip" ในเทศกาล ต่างๆ และได้รับแจก "Vaxigrip" เป็นสินค้าตัวอย่าง 3.โดยด้านพนักงานขายต้องบริการรวดเร็ว ถูกต้องเป็นหลัก รองมาคือมนุษย์สัมพันธ์ดี และความสุภาพ เรียบร้อย 4.โดยด้านประชาสัมพันธ์ ต้องเจองานประชุมของสมาคมต่างๆเป็นหลัก รองมาคือการให้สัมภาษณ์นิตยสารด้านวงการแพทย์ และบริจาคในงานการกุศล 5.โดยด้านการตลาดทางตรงต้องได้รับจากรับโฆษณา"Vaxigrip" โดยตรงผ่านโทรศัพท์เป็นหลัก รองมาคือจดหมาย และเว็บไซท์ "Vaxigrip" จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสัมพันธ์ของตัวพยากรณ์ ที่มีความสำคัญในการ ทำนาย พฤติกรรมการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่าตัวพยากรณ์ที่มีความสำคัญอันดับแรกคือ ด้าน ประชาสัมพันธ์(Beta = 0.381) ความสำคัญอันดับรองลงมาคือ ด้านส่งเสริมการตลาด(Beta = 0.23) ความสำคัญอันดับถัดมา คือ ด้านพนักงานขาย(Beta = 0.138) ด้านการตลาดทางตรง(Beta = 0.133) และความสำคัญอันดับสุดท้าย คือ ด้านโฆษณา (Beta = 0.113) โดยสรุป การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้วัคซีนป้ องกันโรค ไข้หวัดใหญ่ “Vaxigrip” กรณีศึกษาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งข้อเสนอแนะนี้สามารถนำไปใช้เป็น ประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารแบบครบวงจร เพื่อประสิทธิภาพ ที่ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาให้กลยุทธ์ต่อไปในอนาคต
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: วัคซีน -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการตลาด -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
แพทย์ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สันติธร ภูริภักดี
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2380
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kitti_laml.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback