DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/966

Title: การวิเคราะห์ การพัฒนา และการประเมินผลการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Analysis, development and evaluation of the design of print media used in promoting the tourism of Nakhon Si Thammarat province
Authors: กนกวรรณ เขม้นงาน
Keywords: การออกแบบ
นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนาการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมาใหม่ และ 3) เพื่อประเมินผลการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ออกแบบใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2555 โดยใช้การจัดกลุ่มสนทนาในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนทั้งหมด 8 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบจำนวน 4 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปหาแนวทางในการพัฒนาการออกแบบ รวมถึงออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมาใหม่ และส่วนที่ 2 การประเมินผลการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ โดยใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนทั้งหมด 15 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบจำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และนำข้อมูลที่ได้จากการแยกประเด็นต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคน และเชื่อมโยงความคิดเห็นเข้ากัน ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2555 โดยวิเคราะห์จากหลักการออกแบบ พบว่า 1) สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำการออกแบบใหม่ ควรเน้นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญโดยเฉพาะวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร 2) ขนาดของสื่อสิ่งพิมพ์ควรมีขนาดกะทัดรัดและสามารถพกพาได้สะดวก โดยมีขนาดประมาณ ความยาว 14.8 เซนติเมตร ความกว้าง 10.5 เซนติเมตร 3) การจัดวางองค์ประกอบของหน้าปกควรใช้ภาพถ่ายวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นองค์ประกอบหลัก 4) ขนาดของตัวอักษรควรมีขนาดประมาณ 14-16 พ้อยท์ (Point) รูปแบบตัวอักษรของหัวข้อและเนื้อหาควรมีความแตกต่างกัน 5) การจัดวางภาพถ่ายควรมีการจัดวางให้แปลกใหม่และเปลี่ยนมุมมองของภาพถ่ายให้ดูแปลกตา และ 6) การเลือกใช้สีควรใช้สีที่มีความสดใสและหลากหลายเพื่อสร้างความน่าสนใจแก่ผู้อ่าน ผลการวิจัย ส่วนที่ 2 การประเมินผลการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ โดยประเมินผลจากประสิทธิผลของการออกแบบและแบบจำลองกระบวนการตอบสนองต่อสื่อ (AIDA Model) พบว่า ประสิทธิผลของการออกแบบ 1) ด้านการตอบสนองประโยชน์ใช้สอย ขนาดรูปเล่มกะทัดรัดและสามารถพกพาได้สะดวก ขนาดและรูปแบบตัวอักษรมีความชัดเจน การจัดวางภาพถ่ายมีความเหมาะสมและมีเอกลักษณ์ 2) ด้านความสวยงามพึงพอใจ การออกแบบและการจัดองค์ประกอบมีความเหมาะสมสามารถอ่านได้ทุกเพศทุกวัย มีความแปลกใหม่และทันสมัย การเลือกใช้สีและลายกราฟิกสามารถสร้างความน่าสนใจแก่ผู้อ่าน 3) ด้านการสื่อความหมาย การจัดแบ่งข้อมูลมีความน่าสนใจและเหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ดี มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ประเภทของสถานที่ท่องเที่ยวและมีภาพถ่ายครบถ้วน ภาพถ่ายสามารถสื่อถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจน ส่วนผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองกระบวนการตอบสนองต่อสื่อ (AIDA Model) 1) ด้านการดึงดูดความสนใจ หน้าปกมีการออกแบบที่ทันสมัย ขนาดของรูปเล่มที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด การจัดวางรูปร่าง (Layout) และการเลือกใช้โทนสีที่สดใสทำให้มีความแตกต่างจากหนังสือท่องเที่ยวทั่วไป 2) ด้านการสนใจติดตาม มีการออกแบบที่แปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายในเล่มมีการรวบรวมข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวและภาพถ่ายไว้อย่างชัดเจน 3) ด้านการกระตุ้นให้เกิดความต้องการ การแบ่งประเภทของสถานที่ท่องเที่ยวมีความชัดเจนและสามารถทำให้รู้จักจังหวัดนครศรีธรรมราชมากขึ้น โดยรวมมีความพึงพอใจต่อสื่อสิ่งพิมพ์นี้ 4) ด้านการก่อให้เกิดการกระทำ สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการอยากเดินทางมาท่องเที่ยวได้ค่อนข้างมาก และทำให้รู้จักจังหวัดนครศรีธรรมราชว่าเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายและครบทุกรูปแบบ
The primary objectives of this research are: 1) to analyze the design of print media used in promoting the tourism of Nakhon Si Thammarat province in the present, 2) to develop the design of print media used in promoting the tourism of Nakhon Si Thammarat province and 3) to evaluate the development print media design used in promoting tourism of Nakhon Si Thammarat province. This research is structured qualitatively and divided into 2 areas. 1) The analysis of the design of print media that has been used to promote the tourism of Nakhon Si Thammarat province during 2002 to 2012. A method of gathering data is a focus group interview of eight participants 4 people from academic and corporate graphic design profession and another 4 people are local Thai tourists. The research is conducted through content analysis aiming to find the guidelines for the development and new design of the print media to be used in promoting the tourism of Nakhon Si Thammarat province. 2) The evaluation of the new design of print media used to promote tourism of Nakhon Si Thammarat province. The data is collected through an individual interview with 15 participants including five print design professionals and ten local Thai tourists. The data is summarized by using descriptive analysis. Interviewees’ comments and reports are categorized and compared to identify varied perspectives as well as to find correlation among them. The results of the analysis of print media design used in promoting the tourism of Nakhon Si Thammarat province from 2002 to 2012 are as follows: 1) the new design of print media should focus more on, especially Wat Mahathat Woramahawihan, 2) the size of the print media should be portable, easy to carry, with the dimension 14.8 X 10.5 cm, 3) the image of Wat Mahathat Woramahawihan should be on the cover of the print media, 4) the font size should be in between 14-16 point with a variation of styles, 5) image layout variations are highly recommended, and 6) bright color is almost always preferable to make the design stands out. Based on the AIDA Model, the results of the evaluation of print media design used in promoting the tourism of Nakhon Si Thammarat province are as follows: 1) the recommended size for the printed design is very practical and easy to carry around. The font size is appropriate. The image layout is creative and catchy, 2) remarkably designed and practically sized, it is easy to read for everyone. In addition, well-chosen color and graphic design are part of the success, and 3) communicating messages are well defined and concise, just enough to reach out the message to the audience. Proper categorization of content allows readers to easily find useful information. Photo images of attractions and places of interest are attached to support a description of the content as everybody knows pictures say it all. Moreover, AIDA Model captures the essence of 1) Attention meaning the front cover page’s design is appealing, the size is perfect for everyday use as well as the layout, and the brighter color makes the book more attractive and truly distinctive from the others. 2) Interest employs innovative design including pictures of attractions. 3) Desire is derived from proper categorization of content; people, readers, are satisfied and get to know more about Nakhon Si Thammarat. 4) Action stimulates readers to take action towards booking a trip to visit the city, so that Nakhon Si Thammarat will soon become the epicenter of trades and national economic growth of Southern Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): มัลลิกา ผลอนันต์
พรรณี วิรุณานนท์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/966
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanokwan_kham.pdf5.38 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback