DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/929

Title: แนวคิดและหลักการกำหนดค่าเสียหายทางแพ่งเพื่อลดปริมาณการฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ทางอาญา
Other Titles: The concept and principle in determining civil damages to reduce the volume of copyright case fillings for criminal punishment
Authors: กิติยา วงศ์จิรัตน์สกุล
Keywords: การละเมิดลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางปัญญา
ค่าเสียหายทางแพ่ง
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้การฟ้องเป็นคดีอาญาเป็น แนวทางหลักเมื่อเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ มีความเหมาะสมและแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ลด น้อยลงได้เพียงใด และเป็นไปตามแนวทางของทรัพย์สินทางปัญญาที่ว่า สิทธิในทรัพย์สินทาง ปัญญาเป็นสิทธิของเอกชนหรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า การฟ้องเป็นคดีอาญาเป็นแนวทางหลักเมื่อเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ลดน้อยลง ในส่วนอาญา เมื่อศึกษากฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยในปัจจุบันและร่างพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..)พ.ศ...ปรากฎว่ามีบทบัญญัติที่เป็นการส่งเสริมและเอื้อประโยชน์แก่เจ้าของ ลิขสิทธิ์ ซึ่งทำให้ปริมาณการฟ้องเป็นคดีอาญามากกว่าการฟ้องเป็นคดีแพ่ง ซึ่งควรมีการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมาย อันจะเป็นการสอดคล้องกับการส่งเสริมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ไปฟ้องเรียก ค่าเสียหายเป็นคดีแพ่ง เพราะความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความเสียหายทาง ทรัพย์สิน เป็นเรื่องสิทธิของเอกชน จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของสิทธิต้องดูแลผลประโยชน์ของตน อีก ทั้งพื้นฐานของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องทางแพ่งที่คู่กรณีจะเรียกร้องสิทธิทางแพ่งระหว่าง กัน การฟ้องเป็นคดีอาญาจึงควรนำมาใช้ในกรณีที่จำเป็น ในส่วนค่าเสียหายทางแพ่ง เมื่อศึกษากฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยในปัจจุบันและร่าง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..)พ.ศ... ปรากฏว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับค่าเสียหายที่ต่ำมาก จึง ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ให้มีค่าเสียหายที่ทำให้ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชดใช้ ค่าเสียหายให้รู้สึกว่าไม่มีทางที่ตนจะแสวงหาประโยชน์จากการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และเป็น ค่าเสียหายที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของลิขสิทธิ์มากกว่าเดิม เพื่อให้เจ้าของลิขสิทธิ์ให้ความสำคัญ กับการฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายอันเป็นแนวทางการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ แทนที่การฟ้องเป็นคดีอาญาเป็นแนวทางหลัก และเป็นการสอดคล้องกับแนวทางของทรัพย์สิน ทางปัญญาที่ว่า สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิของเอกชน เพราะการฟ้องเป็นคดีอาญา เป็นแนวทางหลักนั้นเป็นการเบี่ยงเบนไปจากการบังคับสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็น สากล
The purpose of this dissertation is to study the right of the copyright owner, which used the criminal procedure as the principal process to indict the pirate, on how suitable and effective in their solution to dealing with the infringement and certify the course of intellectual property whether the intellectual property right should be the individual right. The research demonstrated that the criminal indictment was failed to represent the productive option which use solve and diminish the infringement problem. In the criminal part, after consider the Thailand’s Copyright law and Copyright Bill. It clear that some of those acts encourage and support the copyright owner which stimulates the owner to submits the criminal indictment more than civil. The Copyright law must be amends to induce the owner to file more civil indictment, this because the damages from the infringement was the property damages and the individual right. It must be took care and protected by the owners themselves and the fundamental of the intellectual property was the civil issue which should be settled in civil procedure than criminal. The criminal procedure should be applied only necessary. The matter of civil damages, the researcher founded that the present copyright law and bill gave the owner the small amount of compensation. The law must be amended to extend the amount of compensation. This amendment shall diminish the will of the violator to seek the profit from another person creation and respond the demanding of the owner more than ever. This amendment will encourage the owner to hold on to the civil indictment as their first option than using the criminal indictment to deal with the infringement and also conform to the principal of the intellectual property, which implied that “ the intellectual property right was the individual right ”, This because if we fasten on the criminal process as the first option, we will distort the common way of the world intellectual property.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Subjects: ลิขสิทธิ์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าเสียหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชดใช้ค่าเสียหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทรัพย์สินทางปัญญา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
วิชัย อริยะนันทกะ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/929
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kitiya_wong.pdf778.79 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback