DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/906

Title: การนำชื่อทางการค้ามาเป็นหลักประกันการชำระหนี้
Other Titles: Use of trade names as collateral
Authors: ชัชวัสส์ เศรษฐลักษมิ์
Keywords: ชื่อทางการค้า
หลักประกันการชำระหนี้
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ชื่อทางการค้าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งทำหน้าที่แยกแยะให้เห็นว่าชื่อที่บุคคลใช้ในทางการค้า และธุรกิจของตนนั้นแตกต่างกับธุรกิจของผู้ประกอบการรายอื่น ปัจจุบัน ประเทศไทย เป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญากรุงปารีส แม้ประเทศไทยยังมิได้ตราบทกฎหมายว่าด้วยชื่อทางการค้าออกมาบังคับใช้โดยเฉพาะ (Sui generis) เหมือนดังกรณีของทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องอื่น ๆ แต่ในทางปฏิบัติได้มีแนวบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกาที่ชัดเจนและมั่นคงมาโดยตลอดว่าสิทธิในชื่อทางการค้ามีอยู่ โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และมาตรา 420-421 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) และ มาตรา 275 มาปรับใช้เป็นหลักในการให้ความคุ้มครอง นอกจากนี้การนำชื่อทางการค้าไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การทำสัญยาอนุญาติให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า และการทำสัญญา แฟรนไชส์ ย่อมทำให้ชื่อทางการค้าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และจัดเป็นสิทธิทางทรัพย์สิน เพราะสามารถตีราคาเป็นตัวเงิน และโอนเปลี่ยนมือกันได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทางปัญยาประเภทอื่นที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาและสถาบันการเงินยอมรับเป็นหลักประกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น ชื่อทางการค้าย่อมสามารถนำมาเป็นหักประกันการชำระหนี้ได้เช่นเดียวกัน โดยเสนอแนะให้มีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 703 วรรคสอง และจัดทำร่างพระราชบัญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนครีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
Trade name is a property which is used in connection with trade and business to distinguish one business from another. Though Thailand has no legislation for trade names to be applied specifically (Sui generis) the same as other intellectual property, in practice there has been judicial precedents from the Supreme Court (the court of last resort) who confirms the existence of the right of trade names expressly, permanently and throughly by virtue of Sections 18 and 420-421 of the Civil and Commercial Code and Sections 272(1) and 275 of the Penal Code which are the main legal provisions to be applied to trade name protection. Furthermore, the commercial exploitation of trade names such as trade name licensing and trade name franchising renders trade names to be one type of properties which have economic value and have been categorized as an economic right. This is because trade names can be appraised in monetary value and transferred from one holder to another the same as other intellectual property and financial institutions as mentioned above. Therefore, trade names can be used as collateral as well. As a result, it is recommended that, for the benefit of all parties concerned, Section 703 paragraph 2 of the Civil and Commercial Code be amended, and the Bill regarding commercial security as approved by the Cabinet On July 9, 2009 be enacted.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553
Subjects: หลักประกัน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
การชำระหนี้--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
ชื่อการค้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
ชื่อตราผลิตภัณฑ์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
Advisor(s): ศิรภา จำปาทอง
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/906
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chatchawas_seth.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback