DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/901

Title: ความรับผิดของเสิร์ชเอ็นจิ้น (search engine) กับกรณีการฉ้อโกงอันเกิดจากการทำการตลาดโดยการลงโฆษณาบนเว็บเสิร์ชเอ็นจิ้น (click fraud)
Other Titles: Liability of search engine : click fraud on search engine marketing Case Study
Authors: จุมพล ตรีเพชรสมคุณ
Keywords: เสิร์ชเอ็นจิ้น
การฉ้อโกง
Click Fraud
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: จากการที่ปัจจุบันปัญหาการฉ้อโกงอันเกิดจากการทำการตลาดโดยการลงโฆษณาบน เว็บเสิร์ชเอ็นจิ้น (Click Fraud) ก่อให้เกิดความความเสียหายแก่ผู้ลงโฆษณาผ่านเว็บเสิร์ชเอ็นจิ้นเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าแปดร้อยล้านเหรียญสหรัฐต่อไป โดยมีผู้ลงโฆษณาจำนวนสามในสี่จะต้องประสบปัญหาการคลิ้กที่เกิดจาก การฉ้อโกง ส่งผลให้ผู้ลงโฆษณาตัดสินใจที่จะลดหรือหยุดการโฆษณาด้วยวิธีการดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายที่กล่าวมานี้ ยังไม่นับรวมถึงมูลค่าความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด อาจเป็นเพราะผู้ลงโฆษณาไม่ทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือทราบแต่ไม่ติดใจเอาความ หรือแม้แต่กระทั่งมีการปกปิดข้อเท็จจริงจากเสิร์ชเอ็นจิ้นก็เป็นได้ อนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันจะมีความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาคลิ้กฉ้อโกงจากกลุ่มคนหลากหลายภาคส่วนก็ตาม แต่แนวทางหรือมาตรการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งปัญหาดังกล่าวให้หมดไปได้ ในขณะที่เสิร์ชเอ็นจิ้นละเลยไม่แสดงวิธีการการตรวจสอบหรือป้องกันคลิ้กฉ้อโกง ตลอดจนไม่ดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะจัดให้มีการแจ้งเตือนให้กับลูกค้าเกี่ยวกับการมีอยู่ของ คลิ้กฉ้อโกง และในกรณีที่ลูกค้าตกเป็นเหยื่อแล้ว ก็ไม่ได้ดำเนินการแจ้งต่อลูกค้านั้นให้รับทราบเหตุดังกล่าว รวมทั้งไม่ดำเนินการคืนเงินส่วนเกินที่เกิดจากคลิ้กฉ้อโกงนั้นด้วย ทั้งนี้ เพราะเสิร์ชเอ็นจิ้นได้รับผลประโยชน์หรือมีรายได้จากคลิ้กฉ้อโกงนั้นด้วย ดังนั้น ผู้ลงโฆษณาที่ใช้วิธีการทำการตลาดผ่านเว็บเสิร์ชเอ็นจิ้น (Search Engine Marketing) มาช่วยในการทำการตลาดให้กับสินค้าหรือบริการของตน จึงควรทราบถึงวิธีการตรวจสอบการเกิดคลิ้กฉ้อโกง รวมถึงกระบวนการนำคดีขึ้นสู่ศาลเมื่อได้รับความเสียหายจากคลิ้กฉ้อโกง เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาการฉ้อโกงอันเกิดจากการทำการตลาดโดยการลงโฆษณาบนเว็บเสิร์ชเอ็นจิ้นที่อาจเกิดขึ้น
In today's report, the study found that, Internet advertisers paid at least $800 million per year for bogus clicks on their marketing messages. Moreover, three-quarters of advertisers said they had been victims at least once so that they reduced or stopped spending on click-based advertising. Although Click fraud is often associated with unwanted or unqualified clicks but while unqualified visitors may not generate revenue, this activity may not constitute fraud in and of itself. In another aspect of prevention those problems, nowadays, there are some the corporations of independent organizations purpose to create the practical policies or rules in order to cease click fraud generating by humans but that still not totally stop them. Moreover, Search Engine also has failed to take any significant measures to track or prevent click fraud, and fails to adequately warn its existing and potential customers about the existence of click fraud. When customers become the victims of click fraud, Search Engine fails to adequately advise them that they have been victimized, and refund them the excess charges that they have incurred as a result of the fraudulent click activity. Search Engine has an inherent conflict of interest in preventing click fraud since it drives the same amount of income from each fraudulent click as it does from each legitimate click. Therefore, as discuss above, advertisers using the search engine as the channel of marketing for their products or services must know how to inspect the invalid clicks with themselves and also need to know the process of lawsuit when they have been attacked from click frauds in order to prepare themselves from such any circumstances.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: ความรับผิด (กฎหมาย)--วิจัย
ความรับผิดทางแพ่ง--วิจัย
การฉ้อโกงทางอินเตอร์เน็ต--วิจัย
เสิร์ชเอ็นจิน--วิจัย
การค้นหาทางอินเตอร์เน็ต--วิจัย
การตลาดอินเตอร์เน็ต--วิจัย
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/901
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jumpol_tree.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback