DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/888

Title: กฎหมายสิทธิบัตรกับปัญหาการเข้าถึงยารักษาโรคของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา
Other Titles: Accessing medicine problem in developed country and incompetent country, according to patent law
Authors: สุรสิทธิ์ อรุณรัตนากุล
Keywords: กฎหมายสิทธิบัตร
ยารักษาโรค
ประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศด้อยพัฒนา
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาภายใต้กรอบทางกฎหมายขององค์การการค้าโลก อันได้แก่ ความตกลงว่าด้วยสิทธิบัตรในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (“ความตกลงทริปส์”) โดยศึกษาถึงกรณีผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคที่ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร แม้จะอาศัยข้อยืดหยุ่นตามความตกลงทริปส์นั้นได้แก่ มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นก็ยังไม่อาจทำให้เกิดการเข้าถึงยารักษาโรคได้อย่างเพียงพอ ผลการวิจัยพบว่า การที่ประเทศภาคีสมาชิกขององค์การการค้าโลกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงยารักษาโรคได้อย่างเพียงพอ เกิดจากประเทศเหล่านั้นประสบปัญหาจาก 1. การบังคับใช้บทบัญญัติที่เป็นข้อยืดหยุ่นต่อการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาตามความตกลงทริปส์ 2. ปัญหาการให้ความคุ้มครองแก่การใช้ใหม่ 3. ปัญหาจากการเรียกร้องต่อการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) และ 4. ปัญหาจากการดำเนินคดีทางศาลของบริษัทยาต่อการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิในประเทศกำลังพัฒนา จึงทำให้จำเป็นต้องใช้มาตรการและแนวทางอื่นๆ อาทิ มาตรการจำกัดการใช้ใหม่ การให้ความคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย การตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งรวมถึงแนวความคิดให้ยาเป็นสมบัติสาธารณะเพื่อลดการผูกขาด และแนวความคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร อีกทั้งแนวทางการเข้าถึงยารักษาโรคภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนเพื่อช่วยให้ประชาชนในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาได้มีโอกาสเข้าถึงยารักษาโรคได้มากยิ่งขึ้น
This independent study has a purpose to study the problem and the solution scope in the medicine patent protection under the world organizing law which is the Agreement on Trade – Related Aspect of Intellectual Property Right, Including Trade in Counterfeit Goods. The author will focus in the case where the patient who was not treated by the patent medicine. Even today we have compulsory licensing, which had existed in the Agreement on Trade – Related Aspect of Intellectual Property Right, Including Trade in Counterfeit Goods, to balance the monopoly in medicine but it still not enough. The research shown that developed countries and incompetent countries had never accessed the medical supply. The consequence, which those countries have to face, are as follow: 1. The flexible patent protection was being enforce, according to the Agreement on Trade – Related Aspect of Intellectual Property Right, Including Trade in Counterfeit Goods. 2. The innovation protection problem. 3. The FTA agreement which demanded to be enforce with the parties is a problem. 4. Developed country which used compulsory licensing was sued by the pharmaceutical company. New method was needed to apply such as innovation method, classify information protection, the examination of the patent which reduced the monopoly in medicine product was categorized as a public property. The human right policy is enforce to allow developed counties opportunity to access the medicine.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: กฎหมายสิทธิบัตร--วิจัย
สิทธิบัตรยา--วิจัย
กฎหมายระหว่างประเทศ--วิจัย
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
Bailey, Amanda
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/888
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suasith_aroo.pdf619.76 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback