DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/887

Title: ขอบเขตการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ศึกษากรณี รายการเรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา การเดินแฟชั่น การแสดงมายากล และผู้ที่ทำการแสดงภาพยนตร์
Other Titles: Performer right protection under the scope of copyright act B.E. 2537 study in the case of reality show, game show, sport live broadcasting, fashion show, illusion show and actor on cinema
Authors: สุรพงษ์ ธรรมวงศา
Keywords: สิทธิของนักแสดง
รายการเรียลลิตี้โชว์
เกมโชว์
การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา
การเดินแฟชั่น
การแสดงมายากล
ผู้ที่ทำการแสดงภาพยนตร์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ได้มีการเรียกร้องให้มีการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงในสาขาต่างๆเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลแก่เจ้าของผลงานหรือนักแสดงต่างๆ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของกฎหมายจึงส่งผลเป็นว่าผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเรื่องสิทธิของนักแสดงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในความหมายของคำว่า “นักแสดง” ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อันเป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเรื่องสิทธิของนักแสดงที่ประเทศไทยใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้นนักแสดงในบางสาขาถึงแม้จะเป็นนักแสดงตามความเป็นจริงก็ตาม แต่ก็อาจไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องสิทธิของนักแสดงก็ได้ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาการตีความในเรื่องขอบเขตของคำว่า “นักแสดง” ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ตามมาว่านักแสดงที่ได้ทำการแสดงประเภทไหนหรือสาขาไหนจะถือว่าเป็น “นักแสดง” ตามความหมายของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จากหลักเกณฑ์ต่างๆที่ได้ศึกษาและได้ทำการวิเคราะห์มาผู้ศึกษาจึงเห็นว่านักแสดงผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ทำการแสดงทางนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม หรืออ่าน หรือท่องหรือกล่าวทางวรรณกรรมให้สาธารณชนได้ฟัง หรือทำการแสดงในลักษณะอื่นใด เช่นการละเล่นอื่นๆหรือการแสดงที่ไม่ได้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ใดๆเป็นสิ่งในการแสดง อีกทั้งการแสดงนั้นต้องเป็นการแสดงสดและผู้ที่ทำการแสดงต้องมีเจตนาที่จะทำการแสดงใดๆเพื่อก่อให้เกิดความบันเทิงแก่สาธารณะด้วยมิใช่เป็นแค่เพียงสถานการณ์หรือเหตุการณ์ตามปกติที่เกิดขึ้นเท่านั้น ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันในรายการเรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์ นักกีฬาและผู้บรรยายในการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา ผู้ที่ทำการแสดงในรายการเดินแฟชั่นหรือที่เรียกว่านายแบบหรือนางแบบนั้นจึงไม่อยู่ภายในขอบเขตของคำว่า “นักแสดง” ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แต่ในทางตรงกันข้ามสามารถพิจารณาได้ว่าผู้ที่ได้ทำการแสดงมายากลหรือนักมายากลนั้นมีฐานะเป็นนักแสดงอันอาจจะได้รับความคุ้มครองในเรื่องสิทธิของนักแสดงภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้
Present, we will see the demanding in the variation of the performer right protection because this protection will effect the benefit of the performer. The problem was the definition of the word “performer” in Copy right act B.E. 2537 section 4 which provide the protection for people who was standardized by the definition. This was the only definition which enforced in Thailand which impede some people, who performed as same as the performer who standardized by the definition, from the protection by this act. The fact demonstrated that the problem was the construe of the definition in Copy right act B.E. 2537 section 4, the definition of the word “performer” did not explained which kind of performer should be protected by the Copy right act B.E. 2537 section 4. The author founded that the protection in Copy right act B.E. 2537 section 4 provided the protection for the work with respect to a performer, musician, vocalist, choreographer, dancer, and a person who acts, sings, speaks, dubs a translation or narrates or gives commentary or performs in accordance with the scripter performs in any other manner. This shall not include the competitor in reality show, games show, athletic, narrator in the sport television broadcasting, performer who perform in the fashion show or as it called “model”. In the other hand, people who perform illusion show trick should acquire the protection according to the Copy right act B.E. 2537 section 4.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: นักแสดง--สถานภาพทางกฎหมาย--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537--การศึกษาเฉพาะกรณี
ลิขสิทธิ์--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
รายการโทรทัศน์เรียลลิตี--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
รายการโทรทัศน์เรียลลิตี--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
ตุล เมฆยงค์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/887
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
surapong_tham.pdf478.57 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback