DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/879

Title: การให้ความคุ้มครองคุณลักษณะพิเศษของนักกีฬาที่มีชื่อเสียงภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย
Other Titles: The protection of character of sport personality under Thai copyright law
Authors: อุษณีย์ เพียรสุวรรณ์
Keywords: กฎหมายลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางปัญญา
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในประเทศไทยนั้นสิทธิของนักแสดงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายเฉพาะเป็นครั้ง แรกภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งได้บัญญัติให้การคุ้มครองสิทธิของนักแสดงไว้ ในมาตรา 44 – 53 โดยนักแสดงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตน และสิทธิในการได้รับค่าตอบแทนจากการที่บุคคลได้รับประโยชน์จากสิ่งบันทึกการแสดง การที่จะได้รับความคุ้มครองสิทธิตามสิทธิของนักแสดงนั้นจะต้องเป็นนักแสดงตาม ความหมายของมาตรา 4 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยให้คำนิยามคำว่า “นักแสดง” หมายถึง ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และผู้ซึ่งแสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดง ตามบท หรือในลักษณะอื่นใด แต่จากความไม่ชัดเจนในความหมายของคำว่า “นักแสดง” ที่ไม่ได้ กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “การแสดงในลักษณะอื่นใด” นั้นเป็นงานประเภทใด จึงทำให้เกิดความ สับสนว่านอกจากนักแสดงแล้วผู้ใดบ้างจะได้รับความคุ้มครอง อาทิ นักกีฬา นางแบบ นายแบบ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำคุณลักษณะพิเศษของผู้มีชื่อเสียงไปหาประโยชน์เชิง พาณิชย์เป็นอย่างมาก และไม่ปรากฏว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันบัญญัติให้การแสวงหา ข ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากคุณลักษณะพิเศษของผู้มีชื่อเสียงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย อย่างไร สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาว่าการที่นักกีฬาที่มีชื่อเสียงถูกนำคุณลักษณะพิเศษไปหา ประโยชน์เชิงพาณิชย์จะได้รับความคุ้มครองสิทธิอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาความหมายของคำว่า “นักแสดง” ตามมาตรา 4 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เปรียบเทียบกับอนุสัญญากรุงโรม ค.ศ. 1961 และกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศอังกฤษแล้วพบว่า การแสดงท่าทางการเล่นของ นักกีฬานั้นไม่ใช่ “การแสดงในลักษณะอื่นใด” ดังนั้นจึงทำให้นักกีฬาไม่ได้รับความคุ้มครองใน ฐานะนักแสดง แต่อย่างไรก็ตามจากศึกษาต่อไปจะพบว่าการนำคุณลักษณะพิเศษของนักกีฬาที่ มีชื่อเสียงไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 35 เนื่องจากการนำคุณลักษณะพิเศษของนักกีฬาที่มี ชื่อเสียงไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนถึง สิทธิของบุคคลนั้นๆ ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจที่จะกระทำได้ และสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย ได้ตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Thai actor’s personal rights were firstly protected by law under the Copyright Act B.E. 2537 that contained the topic of actor’s personal right protection in Count number 44-53. From this text, actors have 2 rights, which are right to be the only one who has a right of their action and right to receive the compensation from the parties who receive the benefit from the recording material of actor’s performances. The person who has a right to be protected must be actor according to the definitions expressed in the Copyright Act B.E. 2537 that stated the definition of “actor” which is the person who is performer, singer, dancer and the person who perform, sing, and speak according to the role and in the other ways. But due to the confusion of the definition of actor, lead to the problem that athletes and other persons who work as a performers in the shows are included in this protection or not and the performances of athletes are included in the definition of the performance or not. If they are included, the athlete’s rights will be classified and protected as an actor’s right in which way. ง This paper studies about how the professional athletes, who their special qualities are used to seek the benefits, will be protected by law. From the studying of the meaning of “actors” according to the section 4, copyright act B.E.2537 compare with the Rome convention 1961 and the copyright act of United Kingdom, founded that, the performances of professional athletes are not the “other ways of performances”, therefore, professional athletes will not be protected as actors. However, from this independent study, founded that that using of professional athlete’s special qualities are protected according to The Constitution of Thailand B.E.2550, section 35 because the using of the professional athlete’s special qualities affects their own rights and these actions are not allowed by law and they also have a right to claim on the infringers according to the section 420 of Civil and Commercial Code.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Subjects: ลิขสิทธิ์--ไทย--วิจัย
การละเมิดลิขสิทธิ์--ไทย--วิจัย
นักกีฬา--สถานภาพทางกฎหมาย--วิจัย
ลิขสิทธิ์--วิจัย
การละเมิดลิขสิทธิ์--วิจัย
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
วิชัย อริยะนันทกะ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/879
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
usanee_pean.pdf599.42 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback