DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/639

Title: แนวทางการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดนำเข้า-ส่งออก ในสินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ของกรมศุลกากร
Other Titles: Customs department procedures to prevent intellectual property infringement at import-export borders for automobile industry
Authors: วิไลลักษณ์ เค้าโนนกอก
Keywords: การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา
อุตสาหกรรมยานยนต์
กรมศุลกากร
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: กรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญามาตลอด โดยเป็นผู้อำนวยความสะดวกและเสริมสร้างความปลอดภัยทางการค้าระหว่างประเทศและปกป้องความปลอดภัยของสังคมจากการผ่านของสินค้าที่จะต้องป้องกันปราบปรามสินค้าไม่พึงประสงค์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดนำเข้าส่งออก ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางไปรษณีย์ ภายใต้วิสัยทัศน์ ศุลกากรมาตรฐานโลก จากการศึกษาพบว่า การพิจารณาความผิดทางศุลกากรนั้นจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ การพิจารณาความเป็นไปในลักษณะของกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ โดยปกติแล้วการพิจารณาความผิดนั้นๆ กฎหมายศุลกากรมีบทลงโทษหนักสุด แต่ในบางกรณีปรากฏว่า มีโทษตามกฎหมายอื่นที่มากกว่ากฎหมายศุลกากร จึงเกิดปัญหาในทางปฏิบัติว่าจะพิจารณาระงับคดีในชั้นศุลกากรได้หรือไม่และการแก้ไขความผิดและบทลงโทษ ตามร่างแก้ไขร่างพระราชบัญญัติศุลกากรฉบับต่างๆ ในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดนำเข้าส่งออกของไทยนั้น จะมีเพียงลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า เท่านั้น แต่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิ การผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งการควบคุมดูแลเรื่องการนำเข้านั้นเป็นหน้าที่ของกรมศุลกากรโดยตรง จึงความที่จะมีกฎหมายเพื่อรองรับในส่วนการคุ้มครองสิทธิบัตร ณ จุดนำเข้าส่งออก ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขในเรื่องการเปรียบเทียบงดฟ้องร้องคดีกรณีกระทำความผิดเดียวผิดกฎหมายหลายบท หากความผิดตามกฎหมายศุลกากรมีโทษต่ำกว่ากฎหมายอื่นแล้ว ควรมีการกำหนดลักษณะเกณฑ์เปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามกฎหมายศุลกากร ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ไขพระราชบัญญัติศุลกากร ตามร่างพ.ร.บ.ศุลกากร ฉบับที่... พ.ศ....ในฉบับต่าง ๆ นั้น การกำหนดโทษและความผิดตามกฎหมายศุลกากร ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งออก ที่จะได้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และควรมีการคุ้มครองในเรื่องสิทธิบัตรและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ณ จุดนำเข้าส่งออกโดยประสานร่วมมือไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็น หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางร่วมกันและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานร่วมกัน
Customs Department, as a Facilitator and a Promoter, has always prioritized and supported Government Policy on Intellectual Property Protection by ensuring international trade safety and social safety at the import-export borders. There are some unwanted goods and infringed goods to be screened before entering the country by land, sea, air transport or even via post under the visions and the world’s standard control. The study finds that customs offence relates to several legislated laws and can be considered as the divisible offence. Therefore, the relevant laws with the severest punishment shall be applied. In most cases, the severest punishments of those offences are under customs law. However, in some cases, there are more severe punishments under other relevant laws and this causes difficulty in finalizing the offence whether it can be completed solely by the customs process or not. Another difficulty is from the fact that the intellectual property protection at the import-export borders currently covers only copyrights and trademarks while the Patent Act B.E. 2522 states that the Patent Holder solely has the right to make, use, sell, possess for sale, possess for proposal or import to the Kingdom and the mentioned clause is relevant to Customs scope of work. Therefore, there should be the additional specified legislation under Customs Act to be aligned with the Patent Act on patent right protection at the import-export borders. I suggested that the customs law should be more specific especially the clause regarding the offences and penalties instead of considering the customs offence as the divisible offence and to be interpreted and punished by other relevant laws with higher rate of punishment. All the customs laws themselves should be amended in the same direction for better understanding and more convenient practice to be followed by the customs officers, the exporters and the importers. Customs Department should also cooperate with Department of Intellectual Property to find the solution and share the working procedures to efficient control of the intellectual property protection.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: ทรัพย์สินทางปัญญา--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบังคับใช้กฎหมาย--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทรัพย์สินทางปัญญา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบังคับใช้กฎหมาย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อัมภารัชฎ์ วิเศษสมิต
กริชผกา บุญเฟื่อง
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/639
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wilailuck_khow.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback