DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/628

Title: วิเคราะห์โครงสร้างและข้อพิจารณา anti counterfeiting trade agreement : ศึกษากรณีการบังคับใช้สิทธิทางอาญา
Other Titles: Contemplating the structure and legal issues on anti counterfeiting trade agreement : criminal enforcement
Authors: ปรัชญา ริ้วเลิศศิริกุล
Keywords: การบังคับใช้สิทธิทางอาญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในปัจจุบันการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการละเมิดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากซึ่งทำให้การบังคับใช้สิทธิทางแพ่งเพียงอย่างเดียวต่อผู้ที่กระทำละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ประเทศมหาอำนาจจึงได้ร่วมกันสร้างความตกลง Anti Counterfeiting Trade Agreement ขึ้นมา โดยในความตกลงดังกล่าวได้มีการบัญญัติในเรื่องการบังคับใช้สิทธิทางอาญาขึ้นมาใหม่เพื่อให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีของความตกลงนี้ บัญญัติกฎหมายให้มีการลงโทษทางอาญาสำหรับผู้ที่กระทำละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อต้องการให้ความคุ้มครองต่อเจ้าของสิทธิมากขึ้นและมีมาตรการยับยั้งหรือป้องกันเพื่อให้เกิดการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่น้อยลงกว่าในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมเป็นภาคีของความตกลง Anti Counterfeiting Trade Agreement เนื่องจากประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้มีการลงโทษทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำความผิดละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้อยู่แล้ว จึงเป็นการสอดคล้องกับที่บัญญัติไว้ในความตกลงดังกล่าว อย่างไรก็ดี ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่จำเป็นที่ต้องเข้าร่วมเป็นภาคีของความตกลงดังกล่าว แต่ควรที่จะทำการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแก่เจ้าของสิทธิมากขึ้น กล่าวคือ ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ควรที่จะแยกบทบัญญัติลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำละเมิดขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ควรที่จะมีการแยกบทบัญญัติ ในเรื่องโทษทางแพ่งกับโทษทางอาญาแยกออกจากกันให้มีความชัดเจน และควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 กำหนดโทษสำหรับผู้สนับสนุนการปลอมเครื่องหมายการค้าหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นขึ้น เช่น ผู้ที่ซื้อสินค้าโดยรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้านั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอม หรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น และกำหนดโทษสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ที่นำพื้นที่ออกให้ผู้อื่นใช้โดยรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าผู้ใช้ดังกล่าวใช้พื้นที่เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีการปลอมแปลง หรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
Recently, the Rights of Intellectual Property Violations have been widely increased all over the world. This proves that only Civil Enforcement to the Intellectual Property Violators is not proper and does not fit in the current situation. The Super Powers therefore came to the conclusion to have the Anti Counterfeiting Trade Agreement. The member countries agreed to issue Criminal Enforcement to prevent the Rights of Intellectual Property Violations. They legislated the criminal enforcement to punish the violaters; in the meantime, to provide more protection to the Intellectual Property Rights Owners. These aim to prevent and crack down on piracy. The study found that it is not neccessary for Thailand to become a member country of the Anti Counterfeiting Trade Agreement as Thailand had already imposed civil enforcement to intellectual property violators. This legislation itself is aligned with the Anti Counterfeiting Trade Agreement. Even Thailand has no need to join the Anti Counterfeiting Trade Agreement, it is essential to amend the Copyright Act B.E.2537 to be more specific. For instance, the enforcement for small and big business piracy should be separated as well as the civil and criminal enforcement should also be separated. The Trademark Act B.E.2534 should be amended to legislate the enforcement to supporters of the trademark infringement. The ones who intentionally buy pirated goods or the ones who are aware of the pirated goods but insist to consume, the landlords or the renters who know or are aware of the piracy but allow the violators to run the business, should also be enforced by the law.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: กระบวนการยุติธรรมทางอาญา--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดลิขสิทธิ์--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทรัพย์สินทางปัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ)--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อัมภารัชฎ์ วิเศษสมิต
วิชัย อริยะนันทกะ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/628
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
prachya_riwl.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback