DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5757

Title: อิทธิพลของวัสดุโปร่งแสงที่มีผลต่อประสิทธิภาพเพื่อการลดอุณหภูมิในโรงเรือนเพาะปลูกและความคุ้มทุนระยะยาว
Other Titles: The influence of translucent materials on the efficiency of temperature reduction in greenhouses and their long-term cost-effectiveness
Authors: ณรงค์เดช แย้มบุญมี
Keywords: โรงเรือน
วัสดุโปร่งแสง
การลดอุณหภูมิ
การทดลอง
สภาพอากาศ
Greenhouse
Translucent Material
Temperature Reduction
Experiment
Climate
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การเพาะปลูกพืชในโรงเรือนนั้นได้เข้ามาเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรไทยให้ได้มีแนวทางในการเลือกวิธีสร้างผลผลิตทางการเกษตร การเพาะปลูกในโรงเรือนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง เพราะมีประโยชน์ในเรื่องการดูแลควบคุมได้ง่ายกว่า ใช้ปริมาณพื้นที่น้อยกว่า และยังสามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชต่างถิ่นได้ แต่ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยมีลักษณะร้อนชื้น การเพาะปลูกพืชต่างถิ่นที่ต้องการภูมิอากาศเย็นจึงต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้มีคุณภาพ และมีลักษณะอากาศให้เหมาะสม เช่น การใช้เครื่องปรับอากาศ การพ่นน้ำ ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเป็นการเพิ่มภาระให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต วัสดุโปร่งแสงมุงหลังคาโรงเรือน ที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดเพื่อนำมาใช้ให้เหมาะกับลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นของภาคกลางในประเทศไทย โดยที่วัสดุที่กล่าวนั้นคือ กระจก โพลีคาร์บอเนตและพลาสติกโพลีเอทธีลีน มาทำการทดลองวัดค่าอุณหภูมิเพื่อสรุปผลประสิทธิภาพของการควบคุมอุณหภูมิ จากการทดลองโดยการสร้างโรงเรือนจำลองขึ้นมา 3 หลัง โดยใช้วัสดุโครงสร้างและรูปทรงเดียวกันและใช้วัสดุกรุผนังด้วยแผ่นพลาสติกเอทธิลีน ส่วนหลังคาใช้วัสดุโปร่งแสง 3 ชนิด ได้แก่ กระจก โพลีคาร์บอเนตและพลาสติก โพลีเอทธิลีน มาทำการทดลองวัดค่าอุณหภูมิในช่วงเวลาและสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยมีการทดลองระยะเวลา 3 วัน ในวันที่ 7 – 9 เมษายน พ.ศ. 2567 ผลที่ได้คือโรงเรือนที่มุงวัสดุหลังคาด้วยพลาสติกโพลีเอทธิลีนนั้นมีประสิทธิภาพการควบคุมอุณหภูมิได้ดีที่สุด โรงเรือนที่มุงหลังคาด้วยกระจกใสมีประสิทธิภาพเป็นอันดับสอง และโรงเรือนที่มุงด้วยโพลีคาร์บอเนตมีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิได้น้อยที่สุดในวัสดุโปร่งแสง 3 ประเภทที่นำมาทดลอง
Cultivation of plants in greenhouses has become an option for Thai farmers, providing them with a method to produce agricultural products. Greenhouse cultivation is an attractive option due to its benefits, such as easier control, requiring less space, and enabling the cultivation of non-native plants. However, because Thailand has a hot and humid climate, cultivating non-native plants that require cooler climates necessitates controlling the temperature inside the greenhouse to ensure quality and appropriate atmospheric conditions. This often involves the use of air conditioners and misting systems, which can increase electricity consumption and add financial burdens to farmers. Translucent roofing materials available in the market can be utilized to suit the hot and humid climate of central Thailand. The materials examined in this study include glass, polycarbonate, and polyethylene plastic. An experiment was conducted to measure the temperature control efficiency of these materials. Three model greenhouses were constructed using identical structural materials and shapes, with walls made of ethylene plastic sheets. The roofs were made of three different translucent materials: glass, polycarbonate, and polyethylene plastic. The temperature was measured under the same time and environmental conditions over a three-day period from April 7 to April 9, 2024. The results indicated that the greenhouse with a polyethylene plastic roof exhibited the best temperature control efficiency. The greenhouse with a glass roof ranked second in efficiency, while the greenhouse with a polycarbonate roof had the least temperature control efficiency among the three translucent materials tested.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566
Advisor(s): ภฤศมน คำมะสอน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5757
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
narongdet_yaem.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback