DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5652

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ปี
Other Titles: Relationships between communication behavior and related factors with the Bangkok gubernatorial voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 year-old voters
Authors: มะลิวัลย์ ธนชาติบรรจง
Issue Date: 2539
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านประชากรกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ปี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการสื่อสารกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ปี 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ทัศนคติทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ปี 4. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ปี โดยมีสมมติฐานการวิจัยดังนี้ สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยทางด้านปะชากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน 2539 โดยแยกสมมติฐานย่อย ดังนี้ 1.1 เพศชายมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมากกว่าเพศหญิง 1.2 ผู้ที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มจะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำ 1.3 ผู้ที่มีรายได้ของครอบครัวสูงมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมากกว่าผู้ที่มีรายได้ของครอบครัวต่ำ สมมติฐานที่ 2 พฤติกรรมการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยแยกเป็นสมมติฐานย่อย ดังนี้ 2.1 ผู้ที่มีระดับการสื่อสารระหว่างบุคคลในเรื่องการเมืองสูงมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มากกว่าผู้ที่มีระดับการสื่อสารกับบุคคลต่างๆ ในเรื่องการเมืองต่ำ 2.2 ผู้ที่มีการเปิดรับสื่อมวลชนทางการเมืองสูงมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มากกว่าผู้ที่มีการเปิดรับสื่อมวลชนทางการเมืองต่ำ 2.3 ผู้ที่มีระดับการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสูงมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มากกว่าผู้ที่มีระดับการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่ำ สมมติฐานที่ 3 ปัจจัยทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชากรกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยแยกเป็นสมมติฐานย่อย ดังนี้ 3.1 ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองสูงมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มากกว่าผู้ที่มีมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองต่ำ 3.2 ผู้ที่มีทัศนคติทางการเมืองในเชิงบวกมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มากกว่าผู้ที่มีทัศนคติทางการเมืองในเชิงลบ 3.3 ผู้ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองสูงมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มากกว่าผู้ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำ สมมติฐานที่ 4 ปัจจัยด้านการสื่อสารทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคลและการสื่อสารทางสื่อมวลชนเป็นตัวแปรที่มีน้ำหนักในการทำนายพฤติกรรมการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมากกว่าตัวแปรอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยประกอบด้วยผู้ที่มีอายุ 18-19 ปี ที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 จำนวน 180 คน และเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบสเตปไวส์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS x ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ในบรรดาปัจจัยหรือตัวแปรที่ศึกษานั้น มีเพียงการมีส่วนร่วมทางการเมือง และความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการไปหรือไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ของผู้ที่มีอายุ 18-19 ปี สำหรับตัวแปรทางด้านเพศ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ของครอบครัว ระดับการสื่อสารระหว่างบุคคลในเรื่องการเมือง การเปิดรับสื่อมวลชนในเรื่องการเมือง การเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และทัศนคติทางการเมือง พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการไปหรือไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเลย นอกจากนี้ยังพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ของผู้มีอายุ 18-19 ได้ดีที่สุด
The purpose of this research paper is to study the relationships between communication behavior and related factors with the Bangkok Gubernatorial Voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 year-old voters. The objectives of the research are as follows : (1) To study the relationships between related demographic factors and the Bangkok Gubernatorial Voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 year-old voters. (2) To study the relationships between communication behavior and the Bangkok Gubernatorial Voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 year-old voters. (3) To study the relationships between knowledge, understanding, and attitude on politics with the Bangkok Gubernatorial Voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 year-old voters. (4) to analyze significant factors in predicting the Bangkok Gubernatorial Voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 year-old voters. Hypotheses Hypothesis 1: There are significant relationships between demographic factors and voting behavior of 18-19 years old voters. Hypothesis 1.1 : Male voters are more likely to cast the ballot than female voters. Hypothesis 1.2 : Higher educated voters are more likely to cast the ballot than lower educated. Hypothesis 1.3 : Voters from higher income families are more likely to cast the ballot than lower income families. Hypothesis 2 : There are significant relationships between communication behavior and voting behavior of 18-19 years old voters. Hypothesis 2.1 : Voters with higher political interpersonal communication are more likely to cast the ballot than those with lower political interpersonal communication. Hypothesis 2.2 : Voters with higher exposure to mass media are more likely to cast the ballot than those with lower exposure to mass media. Hypothesis 2.3 : Voters with more information about election are more likely to cast the ballot than those with less information about election. Hypothesis 3 : There are significant relationships between political factors and voting behavior of 18-19 years old voters. Hypothesis 3.1 : Voters with more political understanding are more likely to cast the ballot than those with less political understanding. Hypothesis 3.2 : Voters with more positive political attitudes are more likely to cast the ballot than those with less positive political attitudes. Hypothesis 3.3 Voters with more political participation are more likely to cast the ballot than those with less political participation. Hypothesis 4 : Both interpersonal communication and mass media exposure are significant variables in predicting the voting behavior of 18-19 years old voters. The sample consisted of 180 youths aged between 18 and 19 years in Bangkok who enligible for Gubernatorial Voting on June 2, 1996. Questionaires were used to collect data. There were two methods to analyze the data : (a) Frequency, percentage, and mean compated for purpose were descriptive, and (b) Pearson’s product Moment Correlation and Stepwise Regession were analyzed for the hypothesis testings. Both methods were conducted through SPSS/PC+ program. The results of the research were as follows: (1) Voters’ participation and understanding on politics were found to be correlated with 18-19 years old Gubernatorial voting behavior. (2) Voters’ family income level was found to be correlated with 18-19 years old voters Gubernatorial voting behavior. (3) Political participation was found to be the most significant variable in predicting the Bangkok Gubernatorial voting behavior on June 2, 1996 of 18-19 years old voters.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2539
Advisor(s): พีระ จิรโสภณ
ประจวบ อินอ๊อด
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5652
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
maliwan_than.pdf10.19 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback