DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5649

Title: กระบวนการและประสิทธิภาพของการสื่อสารด้านสุขภาพของศูนย์ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานเพื่อการดูแลตนเอง โรงพยาบาลราชวิถี
Other Titles: Health communication process and efficiency in Diabetes Education Center of Rajavithi Hospital
Authors: วริน มโนรมณ์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการการสื่อสารของศูนย์ให้ ความรู้เรื่องโรคเบาหวานเพื่อการดูแลตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร รวมไปถึงความเข้า รู้ความเข้าใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังจากที่ได้รับการเข้าอบรม ตลอดจนค้นหาอุปสรรคและ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในกระบวนการสื่อสาร ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบ พรรณนา (Narrative) โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง และแบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 2 แบบ คือ 1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participative Observation) แพทย์ 2 คน พยาบาล 1 คน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน 6 คน โดยสังเกตในห้องตรวจโรคและระหว่างการอบรม 2) การสัมภาษณ์ เชิงลึก (Depth -interview) แพทย์ 2 คน พยาบาล 1 คน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์ฯ มีแพทย์ 8 คน และพยาบาล 1 คน เป็นผู้สื่อสารกับผู้ป่วย ทั้งนี้ บุคคลสามารถเข้าร่วมการอบรมกับศูนย์ฯได้ 4 ช่องทางคือ ผู้ป่วยที่มาจากการส่งตัวของแพทย์ที่ ตรวจโรคทั่วไป ผู้ป่วยในของโรงพยาบาล ผู้ป่วยจากคลินิกเฉพาะโรคเบาหวาน และบุคคลทั่วไป พบว่า ผู้มารับการอบรม ณ คลินิกเฉพาะโรคเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี เนื้อหาการอบรมเป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ตลอดจนวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง พยาบาลได้พูดคุยสอบถามความเข้าใจกับผู้ป่วยที่เข้าอบรมตลอดเวลาพร้อมใช้เทคนิคการปลอบ ขู่ และให้กำลังใจ นอกจากนั้นศูนย์ฯ ยังได้ใช้แผ่นภาพ แผ่นพับ และอุปกรณ์การสอนมาประกอบการ บรรยายซึ่งผู้วิจัยพบว่า เนื้อหาแผ่นพับมีข้อผิดพลาดบางส่วน เช่น พิมพ์ตัวอักษรผิด รูปแบบไม่ค่อย ดึงดูดความสนใจเพราะไม่มีรูปภาพประกอบ เป็นต้น แพทย์มีวิธีการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเก่าและใหม่แตกต่างกัน โดยให้ความสำคัญ กับผู้ป่วยใหม่เพราะยังไม่มีความรู้เรื่องการดูแลตัวเอง แพทย์ใช้วิธีการสื่อสารโดยพูดซ้ำๆ การให้ ญาติมีส่วนช่วยดูแลผู้ป่วย การจัดกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ดีมาให้ความรู้ผู้ป่วยที่มีปัญหา ในการดูแลตัวเอง และการส่งผู้ป่วยไปอบรมกับทางศูนย์ฯ ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่า แพทย์กับผู้ป่วยมีระดับ ความสัมพันธ์ที่ดี การใช้อำนาจของแพทย์ระหว่างการสื่อสารอยู่ในระดับต่ำ และเทคนิคการสื่อสาร ล้วนส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยต่อแพทย์ อีกทั้u3591 .ผู้ป่วยบางรายมีการปกปิดข้อมูลเพราะมี บุคลิกส่วนตัวที่ไม่ชอบการสื่อสาร ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการอบรมมีวิธีการเปิดเผยตัวเองแก่แพทย์ 3 แบบคือ 1) เปิดเผย ข้อมูลบางส่วนแก่แพทย์ 2) เปิดเผยข้อมูลต่อเมื่อแพทย์ถาม 3) ไม่เปิดเผยข้อมูลเพราะไม่ชอบสื่อสาร ทั้งนี้ความรู้ความเข้าใจจากการอบรมแบ่งเป็น 4 ด้านคือ สาเหตุของโรคเบาหวาน อาหาร การออก กำลังกาย และการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะวิกฤต ผู้ป่วยที่เคยผ่านการอบรมมากกว่า 1 ครั้งมีความ เข้าใจเนื้อหาทางวิชาการได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ผ่านการอบรมเพียงครั้งเดียว ด้านการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย พบว่าส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเนื่องจากผู้ป่วยยังไม่ให้ ความสำคัญกับโรคเบาหวานอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยพึงพอใจการอบรมใน 3 ด้านคือ 1) ด้านการให้ความรู้ 2) ด้านผู้อบรม วิธีการสอน อุปกรณ์ 3) ด้านเวลา และสถานที่อบรม โดยระบุว่า มีความเหมาะสมและเนื้อหาที่ใช้อบรมเป็นที่ต้องการของผู้ป่วย แต่มีผู้ป่วยบางรายไม่พึงพอใจการ อบรมด้านเวลา และสถานที่อบรมเนื่องจากใช้เวลานานเกินไปและสถานที่คับแคบ
Communication process and efficiency in diabetes education center of Rajavithi Hospital to improve self care were studied by using qualitative, narrative research. The research aims to investigate the communication process, and its contributing factors, knowledge and satisfaction of patients after being educated at the center, along with threat or opportunity factors. Subjects selected using purposive sampling method. Data were collected and analyzed by means of participative observation and depth-interview to physicians, nurses and diabetes patients. Findings revealed that communication senders consist of eight physicians and one nurse are from 4 groups: Diabetes patients referred from general physician, in patient ward, diabetes clinic, and the general public. The diabetes clinic communicated mainly with women aging over 50 years old. The content is about general knowledge in diabetes and self care. The nurse regularly teaches and asks questions so that the patients could verify their understanding. The diabetes education center provides posters, printed materials and teaching aids among which the researcher found some errors in printing and unattractive content. The physicians communicate with the new patients and old patients differently due to different level of knowledge regarding self care in new diabetes. The physicians repeatedly mention to the patients about diabetes and self care procedures to promote their memory. They even encourage family and relatives to take part in patient self care, enhance group therapy with the patients who had experience in self care and even refer patient diabetes to the diabetes education center. The researcher found that the factors that inhibit self-disclosure between the physician and patient 1) physician and patients relationship, 2) Physician influential relationship, and 3) communication technique of physician, nurse and individual patients. The knowledge that the patients received from the education center consist of the exercising and self-care in critical period. Patients who have participated in the diabetes education more often will understand diabetes and self-care more than those who attended only once. The patients are satisfied with the program, techniques and teaching aids including teaching environment. The researcher found that some patients are dissatisfied with the time duration and narrow space in the center.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Advisor(s): รสชงพร โกมลเสวิน
ธีรพล ภูรัต
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5649
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
varin_mano.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback