DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5504

Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชาของผู้บริโภคชาวไทย
Other Titles: Factors which influence Thai consumers’ perception on benefits of cannabis contained products
Authors: ณัฐกร รัตนถาวรกิติ
Keywords: การรับรู้ประโยชน์
อาหารเพื่อสุขภาพ
กัญชา
การตัดสินใจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษางานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ในมิติ ต่าง ๆ ต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชาสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างปัจจัยการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชา และการรับรู้ประโยชน์ของอาหารสำหรับผู้บริโภคชาวไทยในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชา และ 3) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยด้านการรับรู้ของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการเลือกบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพจากกัญชาโดยการใช้วิธี Importance-performance Map Analysis (IPMA) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้บริโภควัยทำงานที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวน 300 คน โดยจะต้องเป็นผู้ที่เคยบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชาตั้งแต่ ปี 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินแบบโครงสร้าง (Structural Model Assessment) ตัวแบบสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square Structural Equation Model: PLS-SEM) ใช้วิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SMART-PLS ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน และมีรายได้มากกว่าเดือนละ 45,000 บาท 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเชิงบวกในด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านความคุ้มค่า และด้านรสชาติตามลำดับ และไม่มีความคิดเห็นเชิงบวกในด้านความปลอดภัย ต่อการรับรู้ประโยชน์ของอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชา 2) จากผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างในการเลือกบริโภคต่อการรับรู้ประโยชน์ของอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชา พบว่า ด้านสังคมส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของอาหารเพื่อสุขภาพจากกัญชามากที่สุด รองลงมาคือด้านอารมณ์ ด้านความคุ้มค่า ด้านรสชาติ และด้านความปลอดภัยตามลำดับ 3) อีกทั้งยังสามารถจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย ด้านการรับรู้ประโยชน์จากวิธี IPMA ส่งผลให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับด้านสังคมมากที่สุด รองลงมาคือด้านอารมณ์ ด้านความคุ้มค่า ด้านรสชาติ และด้านความปลอดภัยตามลำดับ
This research study has 3 objectives: 1) To study various perception factors towards healthy Food consumption from cannabis for consumers in Thailand. 2) To study the structural relationship between factors of healthy Food selection from cannabis and perception of Food benefits for Thai consumers to choose healthy Foods based on cannabis. 3) To prioritize consumer perception factors that affect the choice of healthy Foods from cannabis by using the Importance-performance map analysis (IPMA). The sample used in the study was from a group of working age (20 years and above) consumers that consumed healthy Foods from cannabis since 2022 and were living in Thailand.The tool used in the study was an online questionnaire. Statistics used to analyze data include percentages, averages, standard deviations, and Structural Model Assessment. Partial least quadratic structure equation model analyzes and find relationships between variables using SMART-PLS program. According to the study's findings, the majority of respondents were female, between the age of 20 and 30, most had bachelor’s degree, and were employed as private workers with an average monthly income of higher than 45,000 baht. 1) Respondents had positive opinions on social, emotional, Value, and taste aspects. On the other hand, respondents had favorable judgement regarding the social, emotional, Value, and taste dimensions. Additionally, there are no favorable safety evaluations to be found with respect to the view of the advantages of cannabis-infused Food. 2) For analysis results, showed that the social aspect was given the highest priority, followed by personal feeling, Value of money, taste and safety accordingly 3) The IPMA methodology also helped us to determine the priority of factors based on the responses of the survey participants, the results showed that the social aspect was given the highest priority, followed by personal feeling, Value of money, taste and safety in consumption in that specific order.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565
Subjects: อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารธรรมชาติ
พฤติกรรมผู้บริโภค
การสื่อสารทางการตลาด
อาหารเพื่อสุขภาพ -- การตลาด
กัญชา -- การใช้รักษา
Advisor(s): พิพัฒพงศ์ ฟักแฟ
มณีเนตร วรชนะนันท์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5504
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
natthakorn_ratt.pdf11.66 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback