DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5491

Title: การศึกษาการผลิตอิฐจากกากข้าวมอลต์ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ในการผลิตเบียร์
Other Titles: Study on the production of bricks from malt residue, waste material in beer manufacturing
Authors: เบญจพล ศรีสันติสุข
Keywords: กากข้าวมอลต์
วัสดุเหลือใช้
อัตราส่วนของการผลิตอิฐ
ปริมาณการสะสมน้ำ
นวัตกรรมยั่งยืน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีวิธีการทำง่ายไม่ซับซ้อนด้วยการนำวัสดุจากธรรมชาติมาขึ้นรูปได้ตามขนาดที่ต้องการ สามารถพักทิ้งตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปใช้งานได้ ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยกำหนดการผลิตอิฐจากกากข้าวมอลต์ด้วยวิธีการอัดในแม่พิมพ์สำหรับทำมือ (ขนาด 100 X 200 X 60 มิลลิเมตร) เพื่อหาวิธีการผลิตอิฐและอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตอิฐกากข้าวมอลต์ โดยกำหนดอัตราส่วนการผลิตอิฐทั้งหมด 14 ชุดการทดลอง ผลจากการทดลองสรุปได้ว่า กากข้าวมอลต์สามารถนำมาผลิตขึ้นรูปได้ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม ขนาดของตัวอิฐกากข้าวมอลต์มีขนาดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (มอก. 827-2531) และมีน้ำหนักเบาในทุกอัตราส่วน พบว่า น้ำเป็นตัวแปรสำคัญในการทดลองนี้เนื่องจากกากข้าวมอลต์ดูดซึมน้ำได้ดี ในอัตราส่วนที่มีปริมาณน้ำน้อยส่งผลให้อิฐไม่สามารถขึ้นรูปเป็นก้อนได้ ทั้งนี้ จากการทดสอบปริมาณการสะสมน้ำด้วยเครื่องมือวัดปริมาณสะสมน้ำในวัสดุ พบว่าอิฐกากข้าวมอลต์มีปริมาณการสะสมน้ำอยู่ในระดับความแห้งเพื่อใช้ในการออกแบบสำหรับการก่อสร้างได้ เมื่อนำไปเทียบตามมาตรฐาน DIN 1052-1 ในทุกอัตราส่วน โดยงานวิจัยนี้ยังไม่รวมการทดสอบความแข็งแรง สำหรับงานก่อที่มีการรับแรง ควรมีการพัฒนาและทดสอบในด้านของความแข็งแรงของวัสดุอิฐกากข้าวมอลต์สำหรับเป็นนวัตกรรมยั่งยืนต่อไป
A brick is not only an uncomplicated method to create a form in a construction material, but also able to apply natural materials to form the desired size. The mixed substance of raw brick can be dried under sunlight. In this research, the researcher determines the production of bricks from malt residue by compression method for hand-made molds (size 100 X 200 X 60 mm.) to find the method of brick production and the suitable ratio for the production of malt residue bricks by ratio of 14 set of experiments. The size of the malt residue brick is within the standard (TIS 827-2531). The brick from malt residue can be produced according to the appropriate ratio between substance and water. It is found that water is an important parameter in this experiment because the malt is absorbed water well. In order to create the brick, an insufficient amount water cannot form into blocks. The results show that the handmade brick is lightweight in all ratios. Furthermore, testing the amount of water accumulation by measuring the water accumulation has dryness level for using in construction design referring to the standard of DIN 1052-1. This research does not include strength testing, for other research of the malt brick should be tested for construction work with loads in terms of the strength of innovative sustainable materials.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน-การบริหารจัดการออกแบบภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565
Subjects: อิฐ -- การผลิต
การทำอิฐ
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
กรรมวิธีการผลิต
กระบวนการอัดผ่านขึ้นรูป
Advisor(s): ภฤศมน คำมะสอน
ภาสิต ลีนิวา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5491
Appears in Collections:Theses
Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
benjapol_sris.pdf10.48 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback