DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3959

Title: บทบาทของเฟซบุ๊กในการประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกันอาชญากรรม
Other Titles: The roles of facebook in public relations for crime prevention
Authors: จุฬนี สว่างลาภวงศ์
Keywords: เฟซบุ๊ก
ประชาสัมพันธ์
การป้องกันอาชญากรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง บทบาทการประชาสัมพันธ์ผ่านเฟซบุ๊กในการป้องกันอาชญากรรม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของเฟซบุ๊กในการประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันอาชญากรรม 2) เพื่อศึกษาการใช้เฟซบุ๊กของประชาชนในการร่วมมือเพื่อป้องกันอาชญากรรม การวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 18 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และเป็นคำถามปลายเปิด ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ตำรวจ 2 นาย นักกฎหมาย 2 คน สื่อ 4 คน และ ประชาชน 10 คน คำถามสัมภาษณ์เป็นคำถามกึ่งมีโครงสร้างและเป็นคำถามปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่าเฟซบุ๊กมีบทบาทสำคัญในการประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกันอาชญากรรม ให้กับประชาชน ในด้านต่าง ๆ คือ 1) เฟซบุ๊กเป็นช่องทางหนึ่งที่สื่อสารไปถึงคนติดตามได้แบบเรียลไทม์ เฟซบุ๊กไลฟ์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากด้วยเพราะคนหันมาใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น การประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กจึงทำได้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ 2) เฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แนวทางในเชิงป้องกันอาชญากรรม 3) สร้างให้มีการสื่อสารแบบสองทางหรือหลาย 4) การสร้างเครือข่ายกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยแอดมินเฟซบุ๊กสามารถขอความร่วมมือนำข้อมูลอาชญากรรมจากตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเผยแพร่ โดยตรวจสอบข้อมูลก่อนเผยแพร่ 5) เฟซบุ๊กสามารถสร้างความเชื่อมั่นโดยสร้างภาพลักษณ์ระหว่างองค์กร และสาธารณชน ด้านประชาชนกับการมีส่วนร่วมในการใช้เฟซบุ๊กเพื่อป้องกันอาชญากรรม คือ 1) การรับรู้ข่าวสารและบอกต่อด้วยการแชร์หรือประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนมีความระมัดระวังภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น 2) การแจ้งเบาะแสที่เกี่ยวข้อง ทำให้คดีอาชญากรรมมีควาบคืบหน้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ควรมีการนำเสนอกลไกทางกฎหมาย กฎหมายใกล้ตัว หรือบทลงโทษ ทางเฟซบุ๊ก เพราะจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ และช่วยให้คนที่จะทำความผิดเกรงกลัวต่อการก่ออาชญากรรม
The research on the roles of Facebook in public relations for crime prevention had two objectives 1) to study the role of Facebook on the purpose of public relations and crime prevention and 2) to examine the use of public Facebook by Thai citizens in cooperation and crime prevention. The research was qualitative, using in-depth interviews with 18 informants, classified in four different groups, two policemen, two attorneys, four people of media, and 10 Facebook users. The interview questions were semi-structured and open-ended. The result showed that Facebook played an important role in public relations for crime prevention in various aspects 1) Facebook was one channel communicating to followers as real time. There was Facebook live and could reach many target audiences due to their increasing usage instead of mainstream media. Public relations via Facebook was thus, fast and up-to-date. 2) promoting knowledge of crime prevention guidelines 3) creating a two-way or multi-way communication 4) networking with relevant organizations by Facebook admin’s being able to request cooperation to bring crime information from the police or related agencies to publish and check the information before publishing 5) Facebook could build confidence by creating an image between the organization and the public. As for people’s participation in using Facebook to prevent crime were 1) recognition of news and telling by sharing or publicizing allowed people to be cautious of various threats that would occur 2) laws that were used in daily lifet ed clues causing the crime to progress quickly. However, there should be a legal mechanism, and punishment via Facebook because it would help create the correct understanding and help people who were guilty of crime
Description: วิทยานิพนธ์(นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Advisor(s): ธรรญธร ปัญญโสภณ
มัลลิกา ผลอนันต์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3959
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
juranee.sawa.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback