DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3545
|
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Other Titles: | Factors influencing Bangkok University students’ anxiety in learning fundamental mathematics รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Authors: | เบ็ญจะ นิสสัยสุข |
Keywords: | ความวิตกกังวล -- ไทย -- วิจัย คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- แง่จิตวิทยา -- วิจัย เบ็ญจะ นิสสัยสุข--ผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- นักศึกษา -- วิจัย |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two – Stage Sampling) จำนวน 343 คน ตัวแปรประกอบด้วย ตัวแปรภูมิหลังของนักศึกษา ได้แก่ เพศ เกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย โปรแกรมที่จบการศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และคณะวิชาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ การรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครอง นิสัยในการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา แบบวัดความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน แบบวัดการรับรู้ความสามารถตนเองด้านการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ แบบวัดการรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครอง แบบวัดนิสัยในการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาหญิง และนักศึกษาชายมีระดับความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้ามหาวิทยาลัยแตกต่างกันมีระดับความวิตกกังวลใน
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักศึกษาที่จบการศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในโปรแกรมที่แตกต่างกันมีระดับความวิตก
กังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. คณะวิชาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ ที่แตกต่างกันมีระดับความวิตกกังวล ในการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์พื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5. การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ การรับรู้คาดหวังของผู้ปกครอง นิสัยในการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
6. ตัวแปรที่สามารถ ร่วมกันพยากรณ์ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ANX) คือการรับรู้ความสามารถตนเองในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ (SQL) และเจดคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ATT) ร่วมกันพยากรณ์ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานได้ร้อยละ 50.6 นำมาสร้างสมการพยากรณ์ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
ANX = 5.054 – 0.155SOL – 0.366ATT
ZANX = -0.452ZSOL – 0.345ZATT
7. รูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวล ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน มีดังนี้
ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน คือ เจดคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และการรับรู้ความสามารถตนเองด้านการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเป็น -0.345 และ -0.452 ตามลำดับ
ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานคือการรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองและนิสัยในการเรียน คือ -0.186 และ -0.076 ตามลำดับ The purpose of this research was to study the factors influencing anxiety of Bangkok University students in learning Fundamental Mathematics.
The samples were 343 students who enrolled in the Fundamental Mathematics Course during the first semester of 2006 academic year at Bangkok University. These students were randomly selected by two-stage sampling technique. The variables were student’s personal data (gender, cumulative average grade before university entrance, study program before university entrance, student’s faculty), perceived self-efficacy in Mathematics problem-solving, perceived parent’s expectations, study habits and attitudes towards learning Fundamental Mathematics and the anxiety in learning Fundamental Mathematics. The instruments were questionnaires concerning student’s personal data, anxiety in learning Fundamental Mathematics, self-efficacy in Mathematics problem-solving, parents’ expectations, study habits and attitudes towards learning in Fundamental Mathematics. The data were analyzed with statistical package using ANOVA and Path Analysis.
The results revealed that
1. Males and females had different level of anxiety in learning Fundamental
Mathematics at a significance level of 0.05.
2. The students with different cumulative average grade before entrance had different anxiety in studying Fundamental Mathematics at a significance level of 0.05.
3. The students taking different programs before university entrance had different anxiety in studying Fundamental Mathematics at a significance level of 0.05.
4. The students from different faculty had different anxiety in studying Fundamental
Mathematics at significance level of 0.05.
5. Students’ perceived self-efficacy in Mathematics problem-solving, parents’
expectation, study habits and attitudes towards studying Fundamental Mathematics were statistically related to anxiety in learning Fundamental Mathematics at a significance level of 0.01.
6. That the two variables including perceived self-efficacy in Mathematics problem-solving (SQL) and attitudes towards studying Fundamental Mathematics (ATT) could predict the anxiety in learning Fundamental Mathematics (ANX) at 50.6 percent came up with a predictive equation of anxiety in raw and standardized scores which can be presented in the following form: ANX = 5.054 – 0.155SOL – 0.366ATT
ZANX = -0.452ZSOL – 0.345ZATT
7. The causal relationship model for anxiety in learning Fundamental Mathematics
could be described as follows:
The variables which had a direct influence on anxiety in learning Fundamental Mathematics the most were perceived self-efficacy in Mathematics problem-solving (-0.452) followed by attitudes towards learning Fundamental Mathematics (-0.345). Moreover, the variables which affected the anxiety indirectly were parents’ expectations (-0.186) and study habits (-0.076) consequently. |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3545 |
Appears in Collections: | Research Reports
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|