DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3495

Title: ทัศนคติของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารระดับกลางในองค์การธุรกิจ
Other Titles: The subordinates’ attitudes toward the leadership characteristics of the middle-managers in the business organizations
รายงานการวิจัยเรื่อง ทัศนคติของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารระดับกลางในองค์การธุรกิจ
Authors: สมใจ เฉลิมวงศาเวช
สมใจ ชัยเรืองแสง
Keywords: ผู้นำ -- วิจัย
ประมุขศิลป์ -- วิจัย
สมใจ เฉลิมวงศาเวช--ผลงานวิจัย
สมใจ ชัยเรืองแสง--ผลงานวิจัย
Issue Date: 2522
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเกี่ยวกับลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารระดับกลางที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการ เพื่อสร้างความพอใจ ความยินดีและเต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยเป็นการศึกษาลักษณะบุคลิกภาพ และรูปแบบพฤติกรรมความเป็นผู้นำซึ่งจำแนกเป็นกิจสัมพันธ์ (มุ่งสนใจในผลผลิต) และมิตรสัมพันธ์ (มุ่งสนใจในพนักงาน) การรวบรวมข้อมูลได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นผู้บริหารระดับต้นขององค์การ ธุรกิจในกรุงเทพมหานคร จากแต่ละเขตๆลพ 1 แห่ง เพื่อตอบแบบสอบถาม เป็นจำนนวนทั้งสิ้น 472 คน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล อาศัยหลักการทางสถิติเข้าช่วย ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบไคสแควร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า ลักษณะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางที่มีความสำคัญมากที่สุดตามความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา คือการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และลักษณะผู้นำที่มีความสำคัญน้อยที่สุด คือการเป็นผู้มีฐานะทางสังคมและชื่อเสียงดี กับการเป็นผู้มีบุคลิกลักษณะท่าทางและหน้าตาดี การวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บริหารระดับกลางนั้น พบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการผู้บังคับบัญชาที่มีพฤติกรรมเน้นทั้งกิจสัมพันธ์และมิตรสัมพันธ์ สำหรับตัวแปรสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม และรูปแบบพฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บริหารระดับกลางที่ต้องการนั้น พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 สถานภาพส่วนตัวนี้ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ความพอใจและอุปนิสัยหรือทัศนคติในการทำงาน นอกจากนี้ ยังพบว่าพฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติจริงและที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ปฏิบัตินั้น แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ตลอดจนตัวแปรขนาดของกลุ่มสมาชิกที่ทำงานร่วมกัน ไม่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บังคับบัญชา กล่าวคือ ตัวแปรทั้งสองนี้ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
The purpose of this study was to determine what the middle managers’ leadership characteristics to be favoured by the subordinates are, in order to promote high degree of their satisfaction and job performance. Included in the study are the personality traits and patterns or leadership behavior of the superiors identified as intiation (production orientation) and consideration (employee orientation) of structure. Survey method was used in this study. The sample consisted of 472 first line managers from top level business organizations in each district area of Bangkok Metropolitan. The data were analyzed by using the statistical treatment including percentage, mean, standard deviation, and Chi-square test. The result of this study revealed that, as to the opinions of the subordinates the most import leadership characteristics of the superiors are their ability and achievement with the least important ones are their social status and good appearance. Concerning the superiors’ pattern of behavior, the study also revealed that the subordinates favour the superiors with both intiating and consideration structure. In addition, the study indicated that the ideal pattern of behavior of the superiors is not associated significantly with such variables related to the subordinates as sex, age, education, experience, job satisfaction and working attitude. However, the real pattern of behavior of the superiors is related positively and significantly to the ideal pattern of behavior identified by subordinates. It was also found that size of the group is not significantly associated with the ideal pattern of behavior of the superiors or in other words, it has no influence to the subordinates’ determinations of middle managers pattern of leadership behavior.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3495
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
somjai_chal.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback