DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3370

Title: รูปแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวความคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา: ห้องเรียนวิชาศึกษาทั่วไป ศท.001 ทักษะการคิดเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Other Titles: Learning spaces according to the concept of 21st Century learning skills, Case Stud: General Education Classroom GE001 Thinking Skills for Learning. Bangkok University
Authors: ชิติพัทธ์ เปรมสง่า
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การเรียนรู้ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านต่างๆ สังคมโลกมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างกัน สามารถเข้าถึงข้อมูลบนระบบออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ ส่งผลให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป แนวความคิดทฤษฎีใหม่ถูกคิดค้นเพื่อรองรับต่อความต้องการอย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตยุคเทคโนโลยี โดยเฉพาะแนวความคิดด้านระบบการศึกษาที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างทักษะชีวิตเพื่อปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับห้องเรียนอัจฉริยะ การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตบูรณาการร่วมกับการเรียน ใช้ปัจจัยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกติดตั้งภายในห้องเรียน เปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน โดยสำรวจกรณีศึกษา วิชาศึกษาทั่วไป(ศท.001) ทักษะการคิดเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน ถ่ายภาพ สังเกตบันทึกพฤติกรรมและปัญหาที่พบในชั้นเรียนด้านการใช้งานที่เกิดขึ้นขณะมีการเรียนการสอนระยะเวลา 1 ภาคเรียน หาปัจจัยความต้องการใช้งานด้านพื้นที่ อุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ และเทคโนโลยี นำข้อมูลที่ได้ออกแบบและจัดทำเครื่องมือทดลองในการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 กลุ่ม รวม 100 คน ออกแบบจัดสรรขอบเขตพื้นที่การใช้งาน สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามความต้องการ ผลที่ได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบพื้นที่และปัจจัยความต้องการใช้งานจริง วิเคราะห์เพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่ตอบรับพฤติกรรม สอดคล้องกับแนวความคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งในทางบริหารจัดการและการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภายใน
Education in the 21st Century has been accelerated rapidly by changing of technology and innovation. The online system is playing an essential role making almost all areas of learning easily connected and accessible. This has led to a huge transformation of human behaviors. New methods have been introduced to suit modern ways of life at present time. This research aimed at studying the learning process in 21st Century which focuses on having students learn to prepare themselves for changes that the world of technology will bring. By creating their own life skills. It was also to study the operation of the smart classroom where the Internet has been designed as an important source. Classrooms were equipped with technology a convenient and supportive learning environment. The case study is the course of GE 001: Thinking Skills for Learning, Bangkok University. The data was collected by interviewing users, interview and recording students behavior. The problems found included requirements on space usage, equipments furniture and technology. The experimental group comprised 100 students who were divided into 10 groups. The results show the requirements of students. needs of desirable designs of learning space and requirements for use. Not only did the reflection help with certain architectural designs, it was also supportive to interior design.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) -- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ห้องเรียน -- การออกแบบตกแต่ง
การตกแต่งภายใน
การรู้จักใช้เทคโนโลยี
การศึกษากับเทคโนโลยี
การออกแบบกับเทคโนโลยี
การออกแบบ
ห้องเรียน
สถาปัตยกรรม -- การออกแบบและผังพื้น
การตกแต่งและการประดับ
Advisor(s): ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3370
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chitipat_prem.pdf14.16 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback