DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3192

Title: เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำ บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของ อินโฟกราฟิก ไทยแลนด์
Other Titles: Content and Forms of Communication via Infographic to Perception and Memory on Infographic Thailand Facebook Fan Pages
Authors: ธิดาใจ จันทนามศรี
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่ออธิบายประเภทเนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิก บนเฟชบุ๊กแฟนเพจอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาในช่วงเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2559 และเพื่อศึกษาการรับรู้และจดจำของผู้ใช้สื่ออินโฟกราฟิก ด้วยการแจกแบบสอบถามแบบเห็นตัวตนและผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ที่เป็นสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์ ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์ ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสอนวิธีการ (How to) การรายงานข่าวหรือประเด็นสถานการณ์ และการเปรียบเทียบ รูปแบบการนำเสนอส่วนใหญ่เป็น แบบภาพนิ่ง แบบคลิกได้ที่สามารถดูข้อมูลเชิงลึกด้วยการคลิ๊กลิงค์ไปยังเว็บไซต์ และแบบวีดิโอที่มีทั้งภาพและเสียง สำหรับรูปแบบการสื่อสารด้วยภาพ พบว่า มี 3 รูปแบบผสมผสานกัน คือ ภาพเสมือนจริง ภาพนามธรรม และภาพลัญลักษณ์ เป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้ผู้รับสารสามารถรับรู้ความหมายของภาพได้ทันที กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ด้านพฤติกรรมการใช้งานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วยโทรศัพท์มือถือ มีลักษณะการอ่านเฉพาะที่สนใจ ส่วนมากรู้จัก เฟซบุ๊กแฟนเพจจากลิงค์ที่เพื่อน ๆ แชร์ เหตุผลและวัตถุประสงค์ที่ชอบ คือ เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การรับรู้ การจดจำเนื้อหาและรูปแบบอินโฟกราฟิก มีค่าระดับการรับรู้และจดจำอยู่ในระดับมาก เนื่องจาก ภาพประกอบและการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกที่สวยงาม มีสีสันสะดุดตาจะส่งผลต่อการรับรู้และจดจำ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ และอายุ มีผลต่อการรับรู้และจดจำ เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกที่ไม่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มี ระดับการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีผลต่อการรับรู้และจดจำ เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The purpose of this reseach was to study content and communication pattern through infographic on Facebook fanpage “Infographic Thailand”. The content analysis was used to analyze this fanpage for 6 months from July 1st – December 31, 2016. Moreover, the questionnaire was used to collect data from 400 samples who are the member of Inforgraphic Thailand Facebook fanpage to study their perception and content recognition. The result shown that most of the content on Infographic Thailand fanpage was How to, news coverage or current situation and the comparision. Most of the presentation pattern was 1) visual which be able to click on the external link to explore indept information, and 2) vdo clip with animation and sound. For visual communication, it found that they were 3 combined patterns which was virtual reality, abstract and symbol. The receiver simply understood and instantly recognize the meaning of those visuals. Most of the samples were female, age between 18-24 years old, educational level was bachelor degree, working in private company, have visited this fanpage once a week by using mobile phone, and selected to read upon their interest. Most of them knew this fanpage from friend sharing. The like reason was to follow the useful information. The perception, content and inforgraphic pattern recognition level were high because it had beautiful illustration and strike the eye infographic which affected to their perception and recognition. The result of hypothesis testing shown that samples with different gender and age did not affect to the content and communication pattern through inforgraphic perception and recognition while the different in educational level and occupation affected to the content and communication pattern through inforgraphic perception and recognition were statistically significant at 0.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Advisor(s): พรพรหม ชมงาม
บุญชาล ทองประยูร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3192
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tidajai.jant.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback