DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3190

Title: การเลือกใช้ตัวการ์ตูนเพื่อการสื่อสารแบรนด์ในธุรกิจบริการ
Other Titles: Cartoon Character Selection for Brand Communication in Service Business
Authors: จิรศักดิ์ จงศรีรัตนกุล
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเหตุผลในการนำตัวการ์ตูนมาใช้เป็นทูตตราสินค้า (2) เพื่อศึกษาเหตุผลในการเลือกใช้ตัวการ์ตูนชนิดที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วและชนิดที่สร้างขึ้นใหม่มาใช้ในการสื่อสารแบรนด์ของธุรกิจบริการ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลจาก 5 องค์กรในธุรกิจบริการที่ใช้ตัวการ์ตูนในการสื่อสารตราสินค้ามากกว่า 3 ช่องทางขึ้นไป ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่กำกับดูแลการใช้ตัวการ์ตูนในการสร้างการรับรู้ตราสินค้าขององค์กร ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลที่องค์กรเลือกใช้ตัวการ์ตูน คือ (1) ในตัวการ์ตูนมีความน่ารักและให้ความรู้สึกที่เป็นมิตร (2) ช่วยลดความเคร่งเครียดและความเป็นทางการของเนื้อหา (3) ตัวการ์ตูนไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุขัย (4) ลดความเสี่ยงการใช้บุคคลซ้ำกับแบรนด์อื่นที่ทำให้ผู้บริโภคสับสน (5) ไม่มีความเสี่ยงเรื่องพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (6) องค์กรสามารถใส่ใจความสำคัญหลักของแบรนด์ลงไปได้ (7) ตัวการ์ตูนสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย (8) ช่วยเพิ่มคุณค่าให้ตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (9) นำไปใช้สื่อสารได้หลายช่องทางมากกว่าบุคคลจริง และ (10) ตัวการ์ตูนทำให้ตราสินค้าจับต้องได้ ทั้งนี้ เหตุผลที่องค์กรเลือกใช้ตัวการ์ตูนเพื่อการสื่อสารแบรนด์ในธุรกิจบริการ ในส่วนของตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงเป็นเพราะตัวการ์ตูนเป็นที่นิยมตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และต้องการสร้างกระแสดึงดูดความสนใจจากคนจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ส่วนเหตุผลที่องค์กรเลือกใช้ตัวการ์ตูนที่สร้างขึ้นใหม่เพราะสามารถออกแบบตัวการ์ตูนให้มีเอกลักษณ์ บุคลิกภาพเฉพาะของตราสินค้าเพื่อสื่อสารหรือถ่ายทอดเรื่องราวของตราสินค้าได้ตรงตามความต้องการ ไม่มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ รวมถึงไม่มีค่าใช้จ่ายของลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูน สำหรับข้อแตกต่างในการนำตัวการ์ตูนแต่ละชนิดเพื่อการสื่อสารแบรนด์ในธุรกิจบริการ พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่หากต้องการให้สื่อสารถึงตราสินค้าในเชิงลึก ตัวการ์ตูนที่สร้างขึ้นใหม่จะทำหน้าที่ได้ดีกว่าตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงเพราะไม่ติดเรื่องประวัติความเป็นมาของตัวการ์ตูน ในกรณีที่ต้องการความรวดเร็วในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงเหมาะที่จะนำมาใช้มากกว่าเนื่องจากมีฐานสนับสนุนอยู่แล้วทำให้เวลาที่ใช้ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสั้นกว่า อย่างไรก็ดี ตัวการ์ตูนที่สร้างขึ้นใหม่จะอยู่กับองค์กรได้นานกว่าตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงเพราะตัวการ์ตูนที่สร้างขึ้นใหม่การควบคุมจะขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรที่สร้างตัวการ์ตูนนั้นแต่ตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงจะถูกควบคุมโดยเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งจะมีปัจจัยที่องค์กรผู้เลือกใช้ตัวการ์ตูนไม่สามารถกำหนดได้
This study had purposes: 1) to study rationale of service organization for choosing cartoon characters to be their brand ambassadors; 2) study factors affecting choices of selection between well-known existing cartoon and a new creation. In-depth interview was conducted to gather information from key informants who were responsible for choosing and implementing the cartoon characters of the five organizations in services business (consisting of two organizations which choosing the existing well-known characters and three organizations which choosing to create new cartoon characters). The findings revealed that rationales of the organizations to use cartoon characters as brand ambassadors were 1) the friendliness of the characters help boosting friendly image of the organizations; 2) cartoon characters reduced seriousness result in consumer’s reception of brand content; 3) limitlessness of agewise; 4) reduction the risk of consumer confusion from redundant public figure usage; 5) risk free of unwanted behavior; 6) feasibility of personality of the character to match product branding; 7) reachability for all genders and all ages; 8) increasing value of brand or product; 9) ability of implementation through more means than human ambassador; and 10) making brand concrete. Reasons of choosing well-known cartoon characters were their popularity; matching interest of target consumers; and creating instant attraction to mass consumer. Reasons of choosing a new cartoon creation were ability to design identity and personality of the character to match product brand, no limitation of its implementation, and no property right cost. The effects of implementation of the two kinds of the cartoon characters to create entertaining brand communication were found not different. However, the result revealed that a new character creation was more effective than the popular one when a thorough brand communication was needed because there was no distraction of character's history. On the contrary, the popular one could reach target group easier because of its existing supporters. Finally, a new created character would stay with the organization longer without problems of property right, it's controlled by the policy of the organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การเลือกชื่อตราผลิตภัณฑ์
ชื่อตราผลิตภัณฑ์
ตัวการ์ตูน
ตัวการ์ตูน -- เครื่องหมายการค้า
Advisor(s): พงษ์ วิเศษสังข์
ภัทรภร สังขปรีชา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3190
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jirasak_jong.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback