DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3051

Title: การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้แนวคิดในการออกแบบอาคารระหว่าง กลุ่มนักศึกษาที่เรียนออกแบบ และกลุ่มนักศึกษาที่ไม่เรียนออกแบบ: กรณีศึกษา อาคาร Student Activity Center
Other Titles: A comparative study of the perception on the architectural design concept between design students and non-design students: A case study of student activity center
Authors: ธีระเชษฐ์ พงษ์นะเรศ
Keywords: การรับรู้
การออกแบบอาคาร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัยมีด้วยกัน 3 ข้อ คือ 1) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้สภาพแวดล้อมทางทัศนาการของอาคารศูนย์กิจกรรมนักศึกษา (SAC) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้านออกแบบและไม่ได้เรียนด้านการออกแบบ 2) ศึกษาแนวคิดการออกแบบอาคารศูนย์กิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ถ่ายทอดผ่านสัญญาณชี้แนะองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม 3) เพื่อหาแนวทางในการออกแบบที่ผู้ใช้สามารถที่จะเข้าใจความหมายทางสถาปัตยกรรมตามวัตถุประสงค์ ของสถาปนิกผู้ออกแบบ วิธีการวิจัยที่วิจัยนี้เลือกใช้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mix Method) โดยใช้แบบสอบถามในลักษณะของการประเมินสัญญาณชี้แนะองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาที่เรียนด้านออกแบบและไม่ได้เรียนด้านการออกแบบ กลุ่มละ 50 คน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เป็น นักศึกษาที่เรียนด้านออกแบบและไม่ได้เรียนด้านการออกแบบ จำนวน กลุ่มละ 5 คน และสัมภาษณ์สถาปนิกผู้ออกแบบในประเด็นแนวคิดการออกแบบและสัญญาณชี้แนะที่ผู้ออกแบบเลือกใช้ และนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาว่าสัญญาณชี้แนะองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สามารถถ่ายทอดความคิดของผู้ออกแบบได้และทำให้นักศึกษาผู้ใช้อาคารเข้าใจแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันสถาปนิกผู้ออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า สำหรับอาคารศูนย์กิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาปนิกผู้ออกแบบ ต้องการนำเสนอแนวคิดในลักษณะ “ร่าเริง ตื่นเต้น สนุกสนาน” นักศึกษาที่เรียนด้าน การออกแบบจะมีการรับรู้สัญญาณชี้แนะบางตัวแตกต่างจากนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนออกแบบ โดยสัญญาณชี้แนะที่สามารถทำให้นักศึกษาผู้ใช้อาคารทั้งสองกลุ่มรับรู้ไม่แตกต่างกันคือ สำหรับภายนอกอาคาร สัญญาณชี้แนะด้าน รูปทรงอาคาร สีของอาคาร วัสดุอาคาร พื้นผิวอาคาร และลวดลายบนผนังภายนอกอาคาร สำหรับภายในอาคารคือสัญญาณชี้แนะด้านการจัดวางผังพื้นในอาคาร สีภายในอาคาร ลักษณะวัสดุภายในอาคาร
The objective of the research was to compare of the perception of building signal at the Student activity center (SAC) between design student and un-design student. The research use mix method to acquire the answer. The research was collected the data by 3 ways. First, to collect the data by use questioners from 50 design students and 50 un-design students at Bangkok University. On the second, to collect the qualitative data by interview 5 design students and 5 un-design students at Bangkok University. And on the last, to collect the qualitative data by interview architect who was designed the building. On conclusion design students have a better perception than un-design students. The building signal that student in two groups are perceive in the same direction are building material and interior color. The building signal that student in two groups are perceive in the different direction are building floor plan, interior lighting.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: อาคาร
อาคาร -- การตกแต่ง
การตกแต่งและการประดับสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม
การออกแบบ
การออกแบบสถาปัตยกรรม
Advisor(s): ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3051
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
teerachat_pong.pdf10.63 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback