DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2765

Title: ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์คุณภาพบริการ และค่านิยมในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อทัศนคติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวไทยทางธรรมชาติ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Tourism image, service quality image, and tourism values affecting sustainable tourism attitudes: Case study of natural based tourism of Thai working–age tourists in Bangkok
Authors: กิตติมา แซ่โห
Keywords: ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
ภาพลักษณ์คุณภาพบริการ
ค่านิยมในการท่องเที่ยว
ทัศนคติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์คุณภาพบริการ และค่านิยมในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อทัศนคติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการท่องเที่ยวไทยทางธรรมชาติของนักท่องเที่ยวชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม ปลายปิดที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.946 และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวน 320 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ วิเคราะห์ การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของนักท่องเที่ยว ชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ก) ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวด้านประสบการณ์ และความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว ข) ภาพลักษณ์คุณภาพบริการด้านการตอบสนองต่อลูกค้า และ ค) ค่านิยมในการท่องเที่ยวส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัย ที่ส่งผลต่อค่านิยมในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ก) ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ด้านการจดจำ ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวและสภาพแวดล้อม และ ข) ภาพลักษณ์คุณภาพบริการ ด้านความสามารถในการสัมผัสได้
The study was aimed primarily to study tourism image, service quality image, and tourism values affecting sustainable tourism attitudes: case study of natural based tourism of Thai working–aged tourists in Bangkok. Close–ended questionnaires with the reliability of 0.946 were reviewed the content validity by experts. The multi–stage sampling was implemented to gather data from 320 Thai working–aged tourists who used to visit natural tourism attractions. The descriptive statistical analysis was conducted by using percentage, mean, and standard deviation. In addition, the inferential statistics of multiple regressions was used for hypothesis testing. Results showed that the factors affecting sustainable tourism attitudes toward natural based tourism of Thai working-age tourists in Bangkok at statistically significance were a) tourism image in terms of experience and variety of tourism attractions, b) service quality image in terms of responsiveness, and c) personal tourism values. Additionally, the results also revealed that the factors affecting tourism values of Thai working–aged tourists in Bangkok at statistically significance were a) tourism image in terms of recognition, variety of tourism attractions, and environment, and b) service quality image in terms of tangibility.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การท่องเที่ยว -- การประชาสัมพันธ์ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
นักท่องเที่ยว -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน -- ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์
นิตนา ฐานิตธนกร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2765
Appears in Collections:Theses
Theses
Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kittima_s.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback