DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2703

Title: การลอกเลียนงานวรรณกรรมประเภทนวนิยาย
Other Titles: Plagiarism in novel
Authors: พงศ์เกียรติ กุลรัตนสินสุข
Keywords: การลอกเลียน
นวนิยาย
ลิขสิทธิ์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในปัจจุบันมีการจัดทำวรรณกรรมประเภทนวนิยายในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) วางจำหน่ายอยู่ในเว็บไซด์อย่าง Amazon เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักเขียน นักประพันธ์จำนวนมากสามารถเผยแพร่และจำหน่ายผลงานของตนเองได้อย่างรวดเร็ว นักเขียนจึงจัดทำผลงานของตนเองให้อยู่ในรูปแบบของ E-Book และจัดจำหน่ายผ่านเว็บไซด์ E-Book ด้วยตนเอง ซึ่งค่าตอบแทนจากการจำหน่าย E-Book ค่อนข้างสูง แต่ผลงานบางส่วนอาจไม่ได้รับการตรวจสอบจากเจ้าของงานเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดการลอกเลียนผลงานหรือลอกเลียนความคิดของคนอื่น (Plagiarism) ในงานวรรณกรรมประเภทนวนิยายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการฟ้องร้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์อันเกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีทั้งกรณีที่ศาลตัดสินยกฟ้อง และกรณีที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จากปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การศึกษาหลักเกณฑ์การลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) กับการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมประเภทนวนิยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักเกณฑ์การลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมจรรยา และการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ อันเป็นแนวทางในการตรวจสอบและพิจารณาวรรณกรรมประเภทนวนิยาย รวมถึงแนวทางการตัดสินคดีละเมิดลิขสิทธิ์จากงานวรรณกรรมประเภทนวนิยายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า การลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ในส่วนที่เป็นความคิด และแนวคิดที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ รวมถึงโครงเรื่อง (Plot) ของนวนิยาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง รวมถึงในกรณีที่เนื้อหาของนวนิยายคล้ายคลึงกับนวนิยายของผู้อื่นไม่เกินร้อยละ 20 ของเนื้อเรื่องนวนิยายทั้งหมด โดยไม่รวมถึงข้อเท็จจริงทั่วไป สถานที่ที่มีอยู่จริง คำสามัญ ความคิดเห็นต่าง ๆ รูปแบบของการเขียน หรือการพรรณนาเรื่องราว และโครงสร้างของงานวรรณกรรมที่เป็นรูปแบบตายตัว เป็นการกระทำที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และเมื่อศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในกรณีที่มีความคล้ายคลึงในเนื้อเรื่องของนวนิยายอันเกิดจากการลอกเลียน ศาลจะต้องพิจารณาเนื้อเรื่องของนวนิยายพิพาททั้งหมด โดยพิจารณาจากโครงเรื่อง (Plot) บทสนทนาของตัวละคร (Dialog) เหตุการณ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง (Event) ลักษณะของตัวละครรวมถึงบุคลิกของตัวละคร (Character) ฉากที่ปรากฏในเรื่องราว (Setting) และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งไม่พิจารณารวมไปถึงส่วนที่เป็นความคิด (Idea) แนวคิด กระบวนการ (Method) และข้อเท็จจริง (Fact) ที่ปรากฏในนวนิยาย ทั้งนี้ เมื่อเนื้อเรื่องของนวนิยายพิพาทมีความคล้ายคลึงกันไม่เกินร้อยละ 20 ของเนื้อเรื่องทั้งหมด นวนิยายดังกล่าวไม่เป็นนวนิยายที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเสนอว่า หากมีคดีละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นกับงานวรรณกรรมประเภทนวนิยายอันเกิดจากความคล้ายคลึงในเนื้อหาของงานวรรณกรรมประเภทนวนิยาย ศาลต้องพิจารณานวนิยายในส่วนของโครงเรื่อง บทสนทนาของตัวละคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่อง ตัวละครซึ่งรวมถึงบุคลิกของตัวละคร ฉากที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง และองค์ประกอบแวดล้อมอื่น ๆ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวประกอบกับเนื้อเรื่องทั้งหมดของนวนิยาย หากเนื้อเรื่องของนวนิยายพิพาทมีความคล้ายคลึงกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของเนื้อเรื่องในนวนิยายทั้งหมด ให้ถือว่านวนิยายเรื่องนั้นเป็นนวนิยายที่ละเมิดลิขสิทธิ์
Nowadays, the novel can be published into E-Book or Electronic Book for sale in Amazon, the world famous online retailer. The authors can rapidly publish and sale the E-Book novel. The authors can receive many rewards but some novel not to be checked by the authors. Regarding to this, novels have been copied or plagiarized, which bring to the copyright infringement lawsuit. From the court ruling, copyright infringement case is usually denied and some cases are considered as copyright infringement case. Accordingly, this study focuses on plagiarism rule and copyright infringement in novel for studying relation between ethical rule of plagiarism and copyright infringement under copyright law as the guideline for checking and considering novel literature and considering copyright infringement case to the similar cases. The study found that plagiarism was not considered as copyright infringement only if copying the idea and plot of the novels because the idea and plot of the novel were not protected by the Copyright Act B.E. 2537, article 6 paragraphs 2. In addition, the similarity of novel, which was up to 20 percent excluding fact, scene, common word, comment, style, describe and fixed format in novels was also permitted by the Act. Accordingly, in case that the court needed to consider the similarity of the novel story the court must consider all aspects of disputed novel story, i.e., plot, dialog, event and others, not the idea, method and fact in the novel story. In case that the similarity was less than 20 percent of all novel story, the novel was not considered as the copyright infringement. As a result, the researcher proposed if there was similarity of novel’s story for the case, the court must rule that novel in plot, dialog, event, character, setting, including other nature factors. When considering those factors of novel story, the court should consider as a copyright infringement case if a disputed novel had a similarity story more than 20 percent of novel story.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การลอกเลียนวรรณกรรม
การละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
นวนิยาย
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2703
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pongkiat_kulr.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback