DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2633

Title: เนื้อหาและการสื่อความหมายเพลงโฟล์คซองคําเมืองของ จรัล มโนเพ็ชร เพื่อกลุ่มผู้ฟังสมัยใหม่: กรณีศึกษาเพลง “พี่สาวครับ”
Other Titles: The Content and Meaning of the Folk Song by Jarun Manoprtch for Modern-Age Listeners: A Case Study of "Pi sao krub" song
Authors: กฤติน วงศ์ถริชา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและการสื่อความหมายของเพลงโฟล์คซองคำเมือง“เพลงพี่สาวครับ” ของ จรัล มโนเพ็ชร 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเพลงโฟล์คซองคำเมืองที่ส่งผลต่อกลุ่มผู้ฟังเพลงรุ่นใหม่ 3) เพื่อศึกษามุมมองของผู้ฟังเพลงรุ่นใหม่ เพื่อหาช่องทางและโอกาสในการนำเสนอบทเพลงโฟล์คซองคำเมือง “เพลงพี่สาวครับ”ให้ตรงใจผู้ฟัง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ด้วยเครื่องมือการวิจัยแบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) มีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Information) ด้วยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) มีเกณฑ์การคัดเลือกผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางด้านเพลงโฟล์คซองคำเมือง และเพลงไทยสากล ได้แก่ อดีตผู้จัดการส่วนตัวของคุณ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินเพลงล้านนาชื่อดัง โปรดิวเซอร์เพลงสมัยใหม่ ฝ่ายบริหารค่ายเพลงและผู้จัดแสดงคอนเสิร์ต โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ฟังเพลงสมัยใหม่ จำนวน 30 คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัยแล้วทำการวิเคราะห์ด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้วยความงาม ง่าย และการเล่าเรื่องด้วยภาษาคำเมืองและการสอดแทรกถึงชีวิตประจำวันที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้รวมกับการเล่าถึงความงามของศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือผ่านคำร้องที่ฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทุกภาคทุกภาษาโดยที่มีกีตาร์โปร่งซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสากลนำมาผสมผสานกับการขับร้องเล่าเรื่องราวด้วยภาษาเหนืออย่างลงตัวเกิดเป็นแนวดนตรีใหม่และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคุณจรัล มโนเพ็ชร 2) องค์ประกอบของเพลงโฟล์คซองคำเมือง ปัจจัยหลักสำคัญคือ เนื้อร้องและทำนองเป็นสิ่งที่ไม่ควรเปลี่ยนแปลงหากมีการนำมาทำใหม่ ส่วนการจะตรงใจผู้ชมได้นั้นปัจจัยหลักคือเรื่องของศิลปินที่มาขับร้อง และการเรียบเรียงให้เข้ากับยุคสมัย 3) ช่องทางในการนำเสนอบทเพลงเก่ามาทำใหม่ที่เหมาะสมกับปัจจุบันมากที่สุดคือ อัลบั้มรวมเพลงเก่า คอนเสิร์ต การแสดงโชว์ตามรายการโทรทัศน์และเพลงประกอบละคร ภาพยนตร์ หรือโฆษณา แต่ไม่เหมาะจะนำมาขับร้องใหม่และออกเป็นอัลบั้มเพราะไม่คุ้มค่าในปัจจุบัน
The research had three objectives 1) to study the content and communication of Northern Thai Folk Song of Mr. Charan Manophet; 2) to examine the composition of Northern Thai Folk Songs that influenced modern audience; and 3) to investigate audience’s perspectives to find channels and opportunities to present a folk song, “PhiSao Krub” to satisfy audience members. The researcher applied qualitative research method to exclusively analyze “PhiSao Krub”, a Northern Thai folk song by collecting data from an in-depth interview with Mr. Charan Manophet’s manager who is the owner of Mr. Charan Manophet’s song copyrights and Charan Museum, two famous Northern Thai folk song singers, two Grammy Gold’s strategy communications manager and song producers, and a sample group of 30 modern audience members aged 15-40 years old Besides, documents, lyrics, music CDs and music video of “PhiSao Krub” via social media were utilized. The findings were that 1) The song consisted of aesthetics, simplicity and storytelling in Northern Thai language with interposition of daily life to approach everyone. It also talked about Northern art and cultural aesthetics through the lyrics that could be easily understood by audiences of every region and accent. A perfect combination of acoustic guitar, which is an international musical instrument, and singing style in Northern Thai language generated a new genre of music and uniqueness by Mr. Charan Manophet; 2) the main compositions of the Northern Thai folk song were lyrics and melody that should not be changed if the song is rearranged. The key factors making the song satisfying to audiences were the singer and arrangement corresponding to the era; and 3) the most appropriate channels of presenting old rearranged songs were concerts of famous artists, TV show performances and soundtracks of TV dramas, movies and TV commercials and hit collection albums, respectively. However, other factors, such as social trend at that time and in which way the song should be presented, should be taken into consideration.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ดนตรีพื้นบ้าน
นักดนตรีไทย
จรัล มโนเพ็ชร
นักประพันธ์เพลง -- ไทย
เพลงพื้นเมือง -- ไทย (ภาคเหนือ)
ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ)
Advisor(s): ธรรญธร ปัญญโสภณ
ชัยฤทธิ์ ทองรอด
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2633
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kittin_wong.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback