DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2545

Title: การศึกษาปัจจัยด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล พฤติกรรม กระบวนการและองค์กรที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยความสำเร็จในองค์กรธุรกิจด้านบริการโลจิสติกส์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: A Study of Personal Characteristics, Behavior , Process and Organizational Factors Influencing Organizational Achievement of Logistics Business Services Sector in Bangkok Metropolitan Area
Authors: จันทรจรัส ประสังสิต
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความแตกต่างปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล (2) อิทธิพลปัจจัยพฤติกรรม (3) อิทธิพลปัจจัยกระบวนการ และ (4) อิทธิพลปัจจัยองค์กรที่มีต่อปัจจัยความสำเร็จในองค์กรธุรกิจด้านบริการโลจิสติกส์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา บุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพในธุรกิจด้านบริการโลจิสติกส์ โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ 439 คน และระดับบริหารจัดการ 196 คน และใช้ค่าสถิติต่าง ๆ ประกอบด้วย ค่าความถี่ (จำนวนคน) (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Sample t-test) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) และนำผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพต่อ โดยการเก็บรวบรวมกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในธุรกิจด้านบริการโลจิสติกส์ ในระดับปฏิบัติการ จำนวน 35 คน และระดับบริหารจัดการ จำนวน 27 คน ด้วยการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และวิเคราะห์แบบ (Content Analysis) เพื่อประมวลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างของปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ในระดับปฏิบัติการ ไม่แตกต่างกัน ในระดับบริหารจัดการ มีความแตกต่าง เฉพาะด้านประสบการณ์การทำงาน ส่วนปัจจัยพฤติกรรม กระบวนการ องค์กร มีอิทธิพลต่อปัจจัยความสำเร็จในองค์กรธุรกิจด้านบริการโลจิสติกส์ ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้จากผลการประมวลข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรม กระบวนการ และองค์กร จะมีอิทธิพลต่อปัจจัยความสำเร็จขององค์กรได้นั้น ระดับปฏิบัติการและระดับบริหารจัดการต้องร่วมมือกัน ตามหน้าที่และอำนาจที่องค์กรกำหนด และต้องก่อให้เกิดความสัมพันธ์ของทั้งสองระดับ เพื่อผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
This research aims to study (1) the differences of personal characteristic factor (2) the impact of work behavior factor (3) the impact of process factor, and (4) the impact of organizational factor influencing organizational achievement of logistics business services sector in Bangkok Metropolitan Area. The samples used in this research were professional personnel in logistic service business in 2 levels including 439 persons in practitioner level and 196 persons in management level. The statistics including frequency (number of people), percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, One Way ANOVA and Multiple Regression Analysis were used in quantitative data analysis and the results were used in qualitative analysis. The data were collected through the interview of professional personnel in logistic service business consisted of 35 persons in practitioner level and 27 persons in management level by Structured Interview and Content Analysis. The results found that the differences of personal characteristic factor of personnel in practitioner level were not different. However, the differences of personal characteristic factor in management level in terms of work experience was found different. The impact of work behavior factor, process factor, and organizational factor were found influenced organizational achievement of logistics business services sector in Bangkok Metropolitan Area both practitioner level and management level with statistical significance of 0.05. Moreover, the result of qualitative research revealed that the impact of work behavior factor, process factor, and organizational factor would influence organizational achievement if all personnel levels including management level and practitioner level have to provide cooperation according to their duties and authorities as determined by the organization. In order to achieve that requirement, the cooperative relationship of both levels would be occurred to be the path of the organizational success.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2545
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
janjarad_pras.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback