DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2520

Title: ผลกระทบนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษาประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์
Other Titles: Effects of Monetary Policy and Fiscal Policy on the Stock Market Index: Evidence from Thailand Malaysia Indonesia Philippines and Singapore
Authors: ตรีเพชร พุทธแดง
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาผลกระทบนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษาประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซียประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจัยทางนโยบายการเงินที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ อัตราแลกเปลี่ยน ส่วนปัจจัยนโยบายการคลังที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราภาษี (นิติบุคคล) และ รายจ่ายรัฐบาล โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลา (Secondary Data) เก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึง 2015 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกรายประเทศ จากผลการทดสอบ Granger Causality พบว่านโยบายการเงิน คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะเป็นสาเหตุต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ทุกประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนนโยบายการคลังไม่ได้เป็นสาเหตุของดัชนีราคาหลักทรัพย์ ส่วนผลการทดสอบ Impulse Response Function พบว่าเมื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Shock) ของดัชนีราคาหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศเพิ่มขึ้น 1 S.D. จะส่งผลให้ตัวต่อตัวมันเองในทิศทางบวก โดยนโยบายการเงินจะส่งผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ ส่วนนโยบายการคลังจะไม่ส่งผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์แต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และผลการทดสอบ Variance Decomposition ของทุกประเทศที่ได้ทำการศึกษา พบว่า ดัชนีราคาหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศมีส่วนกำหนดความผันผวนของดัชนีราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับตัวมันเองในช่วงเวลาก่อนหน้า รองลงมาคือ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับนโยบายการเงิน ดังนั้นนโยบายการเงินจะส่งผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ของทุกประเทศ ส่วนนโยบายการคลังจะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
The objective of this paper is to explore the effect of monetary policy and fiscal policy on stock market index in Thailand Malaysia Indonesia Philippine and Singapore. Policy rate and exchange rate are used as factors of monetary policy. Corporate tax and government spending are used as factors for fiscal policy. This study is quantitative research used time series secondary data. Data were collected quarterly by country, during period 2000-2015. The results of Granger Causality Test found that policy rate caused the change of stock market index significantly in every country and exchange rate caused the change of stock market index significantly in some country but fiscal policy didn’t caused the change of stock market index. Then the results from Impulse Response Function approach found that only 1 S.D. shock to stock market index will affect positively to itself. The monetary policy will affect the stock market index while fiscal policy won’t affect the stock market index but it will affect to real sector. The results of Variance Decomposition approach found that the stock market index of each country is the most affect the fluctuation on itself. Then the study found exchange rate and policy rate affect the fluctuation on the stock market index in sequent, which shown that change of the stock market index depend on monetary policy. So monetary policy will affect the stock market index in every country and fiscal policy will affect the real sector.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: ตลาดหลักทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ดัชนีราคาหลักทรัพย์
นโยบายการเงิน
นโยบายการคลัง
Advisor(s): รพีสร เฟื่องเกษม
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2520
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
treepetch.putt.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback