DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2214

Title: แนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
Other Titles: Guidelines of management for educational tourism, case study: Siriraj Medical Museum
Authors: สมภพ ศรานุรักษ์
Keywords: การจัดการพิพิธภัณฑ์
การแพทย์ศิริราช
แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ณ ปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษากิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการร่วมจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช 3) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และรูปแบบการจัดการของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเรียนรู้ที่ยั่งยืน งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน ซึ่งมีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการใช้แบบสอบถามเชิงปริมาณกับกลุ่มประชากรตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับหัวหน้าหน่วยพิพิธภัณฑ์ และผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผลการศึกษา พบว่า พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชประกอบไปด้วยทรัพยากรที่ให้ความรู้ในทางการแพทย์ และสาธารณสุข แต่หากมองในมุมมองหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชยังมีในส่วนของข้อบกพร่องในเรื่องของการจัดแสดง การให้ความรู้ ความปลอดภัย และการบริการ ซึ่งองค์ประกอบหลักในการบริหารงานพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ด้านบุคคลากร ด้านงบประมาณ ด้านนโยบายการบริหารงานพิพิธภัณฑ์
The purpose of this research is to Guidelines of Management for Educational Tourism. There are the three main purposes are; 1) to identify the type of management of educational tourism, 2) to evaluate the activities in order to exhibition in Siriraj Medical Museum, 3) to recommend in order to manage Siriraj Medical Museum to become sustainable educational tourism. This report uses mixed methods between quantitative research and qualitative research to evaluate the collected data based on Thai people who went to the museum and through interviewing the director of the museum and the relatives. The result of the research indicates that Siriraj Medical Museum has many resources for the guests to learning. Meanwhile, the museum disadvantage is educational tourism such exhibition, education, security, and service. The management of medical museum consist the three main reasons; human resources, financial resources, and management policies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): ชลวิช สุธัญญารักษ์
ภูเกริก บัวสอน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2214
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
somphop_sara.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback