DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1962

Title: พื้นที่และสภาพแวดล้อมภายในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา บ้านคลองวัดใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The environment of interior space in the local learning centers through participatory learning process: A case study on Ban Khlong Wat, Song Khanong, Samut Prakarn province
Authors: ปาริฉัตร หนูเซ่ง
Keywords: กระบวนการเรียนรู้
ศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น
การเรียนรู้ภูมิปัญญา
ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่และสภาพแวดล้อมภายในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาชีพ โดยนำหลักการ PAR มาประยุกต์ใช้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะการวิจัย 1) ระยะก่อนดำเนินการวิจัย ศึกษาข้อมูลหมู่บ้านเพื่อนำมาเป็นแนวทางสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูล 2) ระยะดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูล 2 วงรอบ วงรอบที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) ผู้วิจัยเลือกศึกษากรณี 2 กรณีเพื่อเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูลและเข้าร่วมสนทนากับผู้นำชุมชนของหมู่บ้านเพื่อชี้แจ้งวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย ต่อมาผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้รู้และชาวบ้านที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยนำข้อมูลในวงรอบที่ 1 ไปปรับปรุงใช้ในขั้นตอนการสัมภาษณ์กลุ่ม วงรอบที่ 2 ผู้วิจัยลงเก็บข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกันเพียงแต่ในขั้นตอนของการปฏิบัติการสังเกตผู้วิจัยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์กลุ่มเจาะจง (Focus Group Interview) 3) ระยะหลังดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการอภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้รู้มีทัศนะต่อพื้นที่และสภาพแวดล้อมภายในควรสร้างการไหลเวียนของผู้ถูกถ่ายทอดโดยที่พื้นที่ภายในสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เน้นการถ่ายทอดความรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตโดยที่พยายามผสมผสานเนื้อหาให้ผู้ถูกถ่ายทอดปฏิบัติตาม ด้านผู้ถูกถ่ายทอดมีทัศนะต่อพื้นที่และสภาพแวดล้อมภายในควรมีลักษณะพื้นที่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และอเนกประสงค์ต่อการใช้สอยพื้นที่ สร้างการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเน้นความปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้รู้และผู้ถูกถ่ายทอด
This study explores about the need for the space and environment that is required for the learning process experience for occupation. This research uses PAR to develop the methodology and encourages people to participate in the process of this research. This study is carried out in three stages. In the first stage, researcher collects information about the study area. In the second stage, data is collected two cycles. In the first cycle, in-depth interviews were conducted. Before the interviews, two case studies were chosen by the researcher to understand the type of data that required Then the teacher and the students were interviewed after the class to learn about their experience. In the second cycle, the researcher collected the data using focused group discussion. In the third stage, the researcher debates the findings of the research. The result of the research states that the teacher wants fluidity in the classroom space and feels that the interior space should be convertible when needed, focusing on knowledge transfer that the students can relate to in their life. This should be done by carefully following the teacher’s instructions. The students feel that learning space should be convertible too and should be versatile. They state, the learning should also be something that they can relate to in their daily lives. Furthermore, the students want to emphasize on maintaining interaction between the teacher and the students for better learning experience.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1962
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
parichat.noos.pdf11.04 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback